สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) จัดทำแผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (ฉบับปรับปรุงตามงบประมาณที่ได้รับจัดสรร) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารงานของผู้บริหาร และหน่วยงานในสังกัดใช้เป็นกรอบแนวทางในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้วงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร (รวมงบจากกองทุน/เงินทุนหมุนเวียน และงบจาก สกสว.) จำนวนทั้งสิ้น 48,855.2590 บาท แยกเป็น
· งบประมาณตามพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ของสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 48,651.1387 บาท
· งบกองทุน/เงินทุนหมุนเวียน จำนวน 196.3313 บาท
· งบโครงการวิจัย/แผนงานที่ได้รับเงินจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) จำนวน 7.7890 บาท
วิสัยทัศน์
“บูรณาการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้เรียนมีคุณภาพและทักษะที่จำเป็นในโลกยุคใหม่”
พันธกิจ
· ส่งเสริม สนับสนุนการบริหารและจัดการศึกษาแบบบูรณาการทุกระดับทุกพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ
· ส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่
· ส่งเสริม สนับสนุนการสร้างโอกาส และความเสมอภาคทางการศึกษาอย่างทั่วถึง เหมาะสมตามศักยภาพและช่วงวัยของผู้เรียน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา
· ส่งเสริม สนับสนุน การพัฒนาระบบการบริหารงานบุคคลและพัฒนาสมรรถนะของข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษาให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่
เป้าประสงค์รวม
· สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการมีการบริหารและการจัดการศึกษาแบบบูรณาการที่มีประสิทธิภาพ
· ผู้เรียนได้รับการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและเท่าทันการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่
· ผู้เรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างทั่วถึงและเสมอภาค
· ข้าราชการ ครู และบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะที่ส่งผลต่อการพัฒนาผู้เรียนให้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่
ประเด็นยุทธศาสตร์
· พัฒนาการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคง
· พัฒนากำลังคน เพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
· พัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ให้มีคุณภาพ
· สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการศึกษา
· ส่งเสริมการสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
· พัฒนาระบบบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพ
เป้าประสงค์ตามประเด็นยุทธศาสตร์
· ผู้เรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ที่มีคุณภาพและทักษะที่จำเป็นสอดคล้องกับการเสริมสร้างความมั่นคงในแต่ละบริบท
· ผู้เรียนมีสมรรถนะและองค์ความรู้ที่ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่ภูมิภาคและประเทศ
· ผู้เรียนมีคุณภาพ ทักษะและคุณลักษณะที่เหมาะสมต่อการเรียนรู้ในโลกยุคใหม่
· ครู และบุคลากรทางการศึกษามีสมรรถนะเท่าทันการเปลี่ยนแปลงในโลกยุคใหม่
· ผู้เรียนได้รับโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึงและเสมอภาคด้วยรูปแบบที่หลากหลาย
· หน่วยงานและสถานศึกษามีการส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
· หน่วยงานมีระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ตอบสนองความต้องการของผู้รับบริการได้อย่างสะดวก รวดเร็วและโปร่งใส
https://drive.google.com/drive/folders/19Yzbg9vDdAim5J0cImCSJ8k8AvMMo7DD