ค้นหา

พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ยกระดับ กศน.เป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้

 

ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 เผยแพร่พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 โดยยกระดับจากสำนักงาน กศน. เป็น “กรมส่งเสริมการเรียนรู้” มีหน้าที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ 3 รูปแบบ คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ 

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่มาตรา 54 วรรคสาม ประกอบกับมาตรา 258 จ. ด้านการศึกษา (4) ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้รัฐต้องดำเนินการให้ประชาชนได้รับการศึกษาตามความต้องการในระบบต่าง ๆ รวมทั้งส่งเสริมให้มีการเรียนรู้ตลอดชีวิต และจัดให้มีการร่วมมือกันระหว่างรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และภาคเอกชนในการจัดการศึกษา โดยสร้างโอกาสให้ผู้ซึ่งอยู่ในวัยเรียนแต่ไม่ได้รับการศึกษาในโรงเรียน หรือผู้ซึ่งพ้นวัยที่จะศึกษาในโรงเรียนหรืออยู่ในพื้นที่ที่ห่างไกลหรือทุรกันดาร มีโอกาสเรียนรู้และเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ได้อย่างทั่วถึงและพัฒนาศักยภาพ ทักษะ ความเชี่ยวชาญได้ตามความถนัด สมควรปรับปรุงการจัดการเรียนรู้และปรับปรุงโครงสร้างของหน่วยจัดการเรียนรู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการเรียนรู้ตลอดชีวิต จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้ 

โดยยกระดับจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) ให้เป็น กรมส่งเสริมการเรียนรู้” มีหน้าที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ ดังต่อไปนี้

·      การเรียนรู้ตลอดชีวิต

·      การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง

·      การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ 

การส่งเสริมการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัตินี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาบุคคลให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นคนดี มีวินัย รู้จักสิทธิควบคู่กับหน้าที่และความรับผิดชอบ ภูมิใจและตระหนักในความสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข รู้จักรักษาประโยชน์ส่วนรวมและของประเทศชาติ รู้จักความพอเพียง มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี ใฝ่เรียนรู้ มีความรอบรู้ รอบคอบ ระมัดระวัง มีคุณธรรม และมีความซื่อสัตย์สุจริต รวมทั้งมีสำนึกในความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ มีความเป็นพลเมืองที่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมไทย และสังคมโลกได้อย่างผาสุก กับเพื่อให้บุคคลมีทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิต ที่สอดคล้องและเท่าทันพัฒนาการของโลก และมีโอกาสพัฒนาหรือเพิ่มพูนทักษะของตนให้สูงขึ้นหรือปรับเปลี่ยนทักษะของตนตามความถนัดหรือความจำเป็น 

ที่มา ; ราชกิจจานุเบกษา

ข่าวเกี่ยวข้องกัน

ตรีนุช’ กางโรดแมป 60 วัน ยุบ ‘กศน.’ ตั้ง ‘กสร.’ ยกฐานะเป็นนิติบุคคลใต้ศธ.

 

 

น.ส.ตรีนุช กล่าวต่อว่า ศธ.ได้กำหนดภารกิจที่ต้องทำให้เสร็จในกรอบระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด เพื่อให้เกิดการตั้งกรมส่งเสริมการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ เช่น กำหนดอำนาจหน้าที่ โครงสร้าง และหน่วยงานภายในของ กสร., ประสาน สป.ศธ.เพื่อออกแบบและแนวทางให้ได้มาซึ่งคณะอนุกรรมการขัาราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) กสร. และประสานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เพื่อออกแบบและแนวทางให้ได้มาซึ่งคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ. )กสร. , การจัดตั้ง ยุบ รวม เลิก รวมถึงโอนภารกิจ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้สิน รวมถึงข้าราชการ ลูกจ้างและอัตรากำลังทั้งหมด จากสป.ศธ.ไปขึ้นกับกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการรวบรวม วิเคราะห์ และเสนอถ่ายโอนเรื่องต่างๆ , เร่งรัดให้มีการจัดทำกฎหมายรอง ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 เพื่อจัดเตรียมกฎหมาย ประกาศกระทรวง ประกาศกรม และระเบียบกรมไว้ เพื่อให้เกิดการจัดทำให้แล้วเสร็จทันตามกรอบของระยะเวลาในแต่ละมาตรา และ การปฏิรูปหลักสูตรการเรียนรู้ ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ. ส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นต้น 

 

กฎหมายฉบับนี้มีความสำคัญมาก จะทำให้ผู้เรียนทุกช่วงวัยเข้าถึงการเรียนรู้ได้ตามความพร้อมและศักยภาพของบุคคล ทำให้เกิดความเสมอภาคและเท่าเทียมกันของทุกคนในการได้รับการศึกษา นำไปสู่การลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา ซึ่งกรมส่งเสริมการเรียนรู้ มีกลุ่มเป้าหมายเป็นผู้อยู่ในวัยเรียนแต่ไม่ได้รับการศึกษา , ผู้ซึ่งพ้นวัยที่จะศึกษาในสถานศึกษา ,ผู้ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลหรือทุรกันดารและไม่มีหน่วยงานใดไปดำเนินการ เพื่อให้ได้รับการศึกษาเพื่อดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ ซึ่งสำนักงาน กศน.หรือ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ในอนาคตจะต้องมีการปรับปรุงระเบียบ กฎหมาย รวมถึงปรับภารกิจให้ทันการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการเรียนรู้และกลุ่มเป้าหมายที่สอดคล้องกับ พ.ร.บ. ดังกล่าวอย่างเร่งด่วน ดิฉันเชื่อมั่นว่าความร่วมมือร่วมใจอย่างเข้มแข็งจากทุกภาคส่วนของคน กศน. และภาคีเครือข่าย จะขับเคลื่อนให้การดำเนินงานตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 เกิดผลประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชนตามเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ดังกล่าวต่อไป” น.ส.ตรีนุช กล่าว 

 

 

 

ข่าวเกี่ยวกัน

ชี้จุดอ่อน พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ ‘แนวทาง-กลุ่มเป้าหมาย-ครูนอกระบบ’ ไม่ชัด

นายคมกฤช จันทร์ขจร รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) ในฐานะรักษาการแทนเลขาธิการ กศน.เปิดเผยว่า ตามที่ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ.2566 ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 เมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับตั้งแต่วันประกาศ หรือวันที่ 19 พฤษภาคม 2566 จะทำให้ กศน.ถูกยกฐานะจากหน่วยงานภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) เป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้ (กสร.) ที่มีฐานะเป็นนิติบุคคลภายใต้กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ทั้งนี้ อยู่ระหว่างสำรวจ รวบรวม วิเคราะห์ และเสนอถ่ายโอนเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวกับทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้สิน รวมถึง ข้าราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังทั้งหมด จาก สป.ศธ.ให้ไปขึ้นกับ กสร.พร้อมกับประสานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) เพื่อออกแบบ และแนวทางให้ได้มาซึ่งคณะอนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (อ.ก.ค.ศ.) กสร.อีกทั้ง ขอแนวปฏิบัติกับ ก.ค.ศ.ว่าถ้ายังไม่มี อ.ก.ค.ศ.กสร.จะดำเนินการเรื่องบริหารงานบุคคลอะไรได้บ้าง และประสาน สป.ศธ.เพื่อออกแบบ และแนวทางให้ได้มาซึ่งคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) กสร.นอกจากนี้ ได้ตั้งคณะทำงานจัดทำหลักสูตร โดยจะเปลี่ยนเป็นหลักสูตรส่งเสริมการเรียนรู้ตามคุณวุฒิแทนหลักสูตรเดิม ซึ่งจะต้องเร่งดำเนินการให้เสร็จโดยเร็ว

สำหรับโครงสร้างของ กสร.นั้น ได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาจัดทำกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมส่งเสริมการเรียนรู้ และจะต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาเห็นชอบ อย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่มีการยกฐานะขึ้นมาเป็น กสร.จะใช้โครงสร้างของ กศน.เดิมไปพลางก่อน เพราะเรื่องนี้ต้องทำอย่างละเอียด รอบคอบ และครอบคลุมที่สุด ซึ่งผมเชื่อว่าการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ เป็นการปฏิรูปการศึกษา จากเดิมที่เราจัดการศึกษาโดยยึดหลักสูตร จะเปลี่ยนเป็นจัดการศึกษาโดยเอาความต้องการเรียนรู้ของคนทุกช่วงวัยเป็นศูนย์กลาง ทำให้เกิดการเรียนรู้ที่หลากหลาย ตอบโจทย์ศตวรรษที่ 21” นายคมกฤช กล่าว

ด้าน ศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ นักวิชาการด้านการศึกษา กล่าวว่า ข้อดีของ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ จะทำให้พื้นที่ของเด็กเยาวชนที่ออกจากระบบการศึกษาประมาณ 9 แสนคน กับผู้ใหญ่ที่เป็นแรงงานนอกระบบกว่า 20 ล้านคน มีโอกาสได้รับการศึกษา พัฒนาตนเอง และเข้าถึงการมีวุฒิการศึกษาที่ง่ายขึ้น โดย กสร.มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการเรียนรู้ 3 รูปแบบ คือ 1.การเรียนรู้ตลอดชีวิต 2.การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง และ 3.การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ ซึ่งการเรียนรู้ทั้ง 3 รูปแบบนี้ ผู้เรียนสามารถสะสมความรู้เพื่อเอามาเทียบโอนขอวุฒิการศึกษาได้ สิ่งที่ตามมาคือจะมีธนาคารหน่วยกิต ทำให้รอยต่อการศึกษาไม่แยกส่วนกัน นอกจากนี้ ยังกระจายอำนาจการจัดการเรียนรู้ไปในระดับพื้นที่มากขึ้น คือมีศูนย์การเรียนรู้ระดับจังหวัด อำเภอ ตำบล อีกทั้ง มีระบบหลักสูตรที่ยืดหยุ่น ทำให้ประชาชนเข้าถึงการศึกษาง่าย สามารถเรียนตามความสนใจ และความต้องการของตนได้ 

สิ่งที่น่ากังวลคือ การที่ กศน.ยกระดับเป็น กสร.มีฐานะเป็นนิติบุคคล แต่กังวลว่าความเป็นกรมในระบบราชการ จะทำให้ กสร.แข็งตัวในระบบราชการหรือไม่ เพราะ กสร.มีหน้าที่ชัดเจน คือต้องจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่น เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่สะดวก และรวดเร็ว เมื่อเจอระบบราชการที่แข็งตัว จะไปกดทับความยืดหยุ่น และจะทำให้จัดการศึกษาเข้าถึงกลุ่มคนต่างๆ ได้ยากขึ้นหรือไม่ อีกหนึ่งจุดอ่อนคือกฎหมายใหม่ ส่วนใหญ่จะเน้นยกระดับ กศน.ขึ้นเป็น กสร.แต่สิ่งที่หายไปคือกลุ่มเป้าหมาย ว่าต่อไป กสร.จะแบ่งกลุ่มเป้าหมายอย่างไร และมีแนวทางจัดการศึกษากลุ่มเป้าหมายแต่ละกลุ่มอย่างไร” ศ.ดร.สมพงษ์ กล่าว

ศ.ดร.สมพงษ์กล่าวอีกว่า อีกทั้ง กลุ่มครูนอกระบบ ในกฎหมายใหม่พูดถึงน้อย ซึ่งเป็นกลุ่มบุคคลสำคัญมากที่สุด ควรจะทำให้ชัดเจนมากขึ้น แต่ยังมีข้อดีคือ ผู้ที่จะเข้ามาเป็นครู ไม่จำเป็นต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูได้ อาจจะเป็นคนในพื้นที่มีความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และผู้ที่มีความรู้ด้านต่างๆ ที่อยากสอนหนังสือ แต่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ เข้ามาถ่ายทอดความรู้” นายสมพงษ์ กล่าว 

ข่าวเกี่ยวกัน

กรมส่งเสริมการเรียนรู้” เอื้อทุกกลุ่มเข้าถึงการศึกษา 

ข่าววงใน” กระทรวงศึกษาธิการ กระเซ็นกระสายมาว่า เร็วๆ นี้ จะมีหน่วยงานเกิดใหม่ที่มีชื่อว่า “กรมส่งเสริมการเรียนรู้”

ซึ่งมีเป้าหมายเอื้ออำนวยให้ประชาชนทุกกลุ่ม ทุกช่วงวัย ทุกสาขาอาชีพ สามารถเข้าถึงการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน

สืบเนื่องจาก (ร่าง) พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ที่กำลังจะตราออกมา ซึ่งถือได้ว่าเป็น “จุดเปลี่ยน” ของแวดวงการศึกษาไทย ให้มีการส่งเสริมการเรียนรู้อย่างเสมอภาค ตอบโจทย์เยาวชนทุกช่วงวัยและทุกกลุ่ม

เอื้อให้กับผู้ที่อยู่ภาคแรงงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แรงงานนอกระบบที่มีอยู่หลายสิบล้านคน ให้เข้าถึงการฝึกอบรมทักษะอาชีพฝีมือแรงงานทุกขั้น ตั้งแต่พื้นฐานจนถึงขั้นสูง

ซึ่งขณะนี้ ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้ผ่านวาระ 3 ตามที่คณะรัฐมนตรีเป็นผู้เสนอเมื่อปลายปีที่ผ่านมา โดยกฎหมายฉบับนี้ ถือเป็นการ ปฏิรูปการศึกษา” รอบใหม่ ผ่าน 3 เสาหลัก ได้แก่

1. รัฐ

2. เอกชน

3. ท้องถิ่น

ที่จะร่วมกันให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนคนไทยทุกหมู่เหล่า ตั้งแต่แรกเกิดจนเสียชีวิตโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เด็กและเยาวชนด้อยโอกาส จะสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ทุกรูปแบบ ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน 5 ช่วงวัย ประกอบด้วย

1. เด็กปฐมวัย

2. เยาวชน และวัยรุ่น

3. ผู้ใหญ่ตอนต้น

4. วัยกลางคน

5. ผู้สูงอายุ

โดยในขณะนี้ กระทรวงศึกษาธิการ ได้เตรียมการยกระดับ “สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย” หรือ กศน. ขึ้นเป็น “กรมส่งเสริมการเรียนรู้”

ภายใต้ภารกิจการบริหารจัดการการศึกษาใน 3 รูปแบบ ดังนี้

1. การเรียนรู้ตลอดชีวิต

2. การเรียนรู้เพื่อพัฒนาตนเอง

3. การเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามลำดับขั้น

สำหรับเด็กและเยาวชนที่อยู่ในภาคการศึกษานอกระบบเกือบ 1 ล้านคน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แรงงานนอกระบบกว่า 20 ล้านคน ให้เข้าถึงโอกาสทางการศึกษาอย่างทั่วถึง และเท่าเทียม

ภายใต้ปรัชญา No One Left Behind หรือ ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

ผ่านหลักสูตรระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา ผ่าน “พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้” ภายใต้การกำกับดูแลของ “กรมส่งเสริมการเรียนรู้”

ซึ่งทั้งหมดนี้ จะผ่านการกระจายอำนาจการบริการจัดการการเรียนรู้ ไปยังหน่วยส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอ ศูนย์การเรียนรู้ตำบล สถาบันการเรียนรู้เฉพาะด้าน หรือเฉพาะกิจ รวมถึงภาคีเครือข่าย สถานศึกษา รวมทั้งสถาบันพัฒนาหลักสูตรและการเรียนรู้ต่างๆ

ก่อให้เกิดความร่วมมือในการส่งเสริมการเรียนรู้ระหว่างหน่วยงานรัฐคือ อปท. หรือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน และภาคประชาชน ในการจัดการศึกษาทุกระดับ

โดยมีเป้าหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เป็นการเปิดโอกาสให้คนทุกกลุ่มที่อยู่นอกระบบการศึกษา ได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ เพื่อพัฒนาตนเองอย่างทั่วถึง

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้ด้อยโอกาสในสังคม

จุดเด่นของ “กรมส่งเสริมการเรียนรู้” คือการเชื่อมโยงเครือข่ายการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเดิม จัดตั้งเป็น “ศูนย์การเรียนรู้” ที่จะขยายตัวรองรับทุกพื้นที่

ตอบโจทย์ความต้องการของคน Generation ใหม่ ไม่ว่าจะเป็น การเรียนเพื่อประกาศนียบัตร หรือการเรียนเพื่อให้ได้วุฒิการศึกษา ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา

ผ่านระบบ ธนาคารหน่วยกิต” หรือ Credit Bank ที่สามารถเทียบโอนได้ทุกสถาบันการศึกษา

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเน้นไปที่การฝึกฝนทักษะอาชีพ เพื่อเพิ่มทักษะการทำงาน สร้างรายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัว

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มทักษะชีวิต เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามแนวคิด LLL หรือ Life Long Learning ที่เน้นเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่านแหล่งเรียนรู้หลากหลายรูปแบบ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การให้ความสำคัญกับ “ครูทั้งระบบ” ทั้งครูในระบบ และครูนอกระบบ หรือบุคลากรในภาคประชาสังคม ซึ่งกระจายตัวทำงานอยู่ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ

ผ่านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานในระดับพื้นที่ และระดับประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ระดับนานาชาติ

ที่มา ; SALIKA

ข่าวเกี่ยวกัน

ห่วงตั้ง ‘กรมส่งเสริมการเรียนรู้’ สะดุด หลังยกร่างกฎหมายลูก พบปัญหาอื้อ!

นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยความคืบหน้าการสรรหาผู้บริหารระดับสูงของ ศธ. แทนตำแหน่งว่าง ว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะอนุกรรมการสรรหาผู้บริหารระดับสูง ได้เสนอรายชื่อผู้เหมาะสมดำรงตำแหน่ง รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (กอศ.) 1 ตำแหน่ง ศึกษาธิการภาค (ศธภ.)  2 ตำแหน่ง และผู้ตรวจราชการ ศธ.1 ตำแหน่ง ให้น.ส.ตรีนุช  เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการศธ. พิจารณา ซึ่งรัฐมนตรีว่าการศธ. ไดนำรายชื่อผู้เหมาะสมทั้ง 4 อัตรา เสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ความเห็นชอบแล้ว แต่ครม. อาจจะเห็นว่า ยังไม่เหมาะสม จึงได้ระงับรายชื่อทั้งหมดไว้ก่อน และส่งกลับมาที่ศธ. ซึ่งคงต้องดูความเหมาะสมหลังการเลือกตั้ง ก่อนเสนอให้รัฐมนตรีว่าการศธ. คนใหม่พิจารณา หากรัฐมนตรีว่าการศธ.ให้ความเห็นชอบ ก็เสนอครม.ใหม่ พิจารณาได้ทันที แต่หากไม่เห็นชอบ ก็ต้องตั้งคณะอนุกรรมการสรรหาผู้บริหารระดับสูงใหม่อีกครั้ง 

ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของรัฐมนตรีว่าการศธ. คนใหม่ เพราะน.ส.ตรีนุช ในฐานะรัฐมนตรีว่าการศธ. คนปัจจุบัน ก็ได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ทั้งหมดเรียบร้อยแล้ว ทั้งนี้แม้การแต่งตั้งผู้บริหาระดับสูงแทนตำแหน่งว่าง จะไม่สามารถดำเนินการได้ทันภายในรัฐบาลนี้ แต่ก็เชื่อว่า จะไม่กระทบต่อการทำงานในภาพรวม เพราะเชื่อว่า ผู้บริหารที่มีอยู่จะสามารถขับเคลื่อนการทำงานได้เป็นอย่างมีประสิทธิภาพ” นายอรรถพล กล่าว

นายอรรถพล กล่าวต่อว่า ในส่วนของความคืบหน้าการสรรหาเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.) คนใหม่นั้น ชัดเจนแล้ว ว่า ต้องรอให้ได้รัฐบาลใหม่ก่อน จึงจะสามารถเริ่มกระบวนการสรรหาได้ ซึ่งตำแหน่งก็ต้องเปลี่ยน จากเลขาธิการกศน. เป็น อธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566   ซึ่งมีผลบังคับใช้ ส่งผลให้จะต้องมีการยกฐานะสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (สำนักงาน กศน.) จากหน่วยงานภายใต้สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) เป็น กรมส่งเสริมการเรียนรู้ (กสร.) ที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล ภายในวันที่ 18 พฤษภาคมนี้

ปลัดศธ. กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตามส่วนตัวยังมีข้อกังวล ในส่วนของการจัดทำกฎหมายลูกทั้งหมด 17 ฉบับ  โดยเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้าง ที่จะต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับร่างพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ…. ฉบับใหม่ แต่ขณะนี้ กฎหมายฉบับดังกล่าว ค้างอยู่ที่สภาผู้แทนราษฎร ซึ่งต้องรอรัฐบาลใหม่เข้ามาพิจารณา ว่าจะเดินหน้าต่อหรือไม่ ดังนั้น การขับเคลื่อนบางประเด็น  อาทิ ในเรื่องโครงสร้าง จะต้องไปปรับแก้พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ.2534  เพื่อให้กสร. ที่จัดตั้งใหม่สามารถหลุดออกมาเป็นนิติบุคคลได้อย่างเด็ดขาด มีอำนาจในการบริหารงานบุคคลและงบประมาณ  หรือ เสนอครม.ออกเป็นพระราชกำหนดเพิ่มเติม เพื่อให้การขับเคลื่อนการทำงานของกสร. สามารถดำเนินการได้อย่างไม่มีปัญหา ซึ่งก็ต้องไปดูรายละเอียดอีกครั้งว่าสามารถดำเนินการได้หรือไม่

ยอมรับว่า ส่วนตัวค่อนข้างกังวล และไม่สบายใจ โดยเฉพาะการขับเคลื่อนการทำงาน ให้เป็นไปตามกฎหมาย ตามแผนงานที่วางไว้ รวมถึงเป้าหมายการเพิ่มคุณภาพผู้เรียนกศน. ตามกฎหมายใหม่ที่ออกมา อยากให้มีความชัดเจน ขณะเดียวกันยังต้องไปดูรายละเอียดด้วยว่า การจัดตั้งหน่วยงานใหม่ จะมีปัญหาหรือไม่ เพราะตามระเบียบของ สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน(ก.พ.)  กำหนดไว้ชัดเจน ไม่ให้มีการจัดตั้งหน่วยงานใหม่ เพราะจะต้องมีการเพิ่มจำนวนบุคลากร มีผลผูกพันเป็นภาระกับงบประมาณแผ่นดิน ตรงนี้เป็นเรื่องที่จะต้องไปดูรายละเอียดในข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง แต่กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ก็จะต้องเกิดขึ้นภายในวันที่ 18 พฤษภาคมตามกฎหมาย ส่วนกฎหมายลูกก็จะต้องดำเนินการรองรับตามมาในภายหลัง ระหว่างทางก็จะต้องมีการปรับให้เหมาะสม ในลักษณะทำไปแก้ไป ให้เกิดความสมบูรณ์มากที่สุด  ส่วนรองเลขาธิการกศน.ที่ปฏิบัติหน้าที่ รักษาราชการแทนเลขาธิการกศน. ในปัจจุบัน ก็จะปรับมาเป็น รักษาราชการแทนอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ โดยตำแหน่งทันที” ปลัดศธ. กล่าว 

ที่มา ; มติชนออนไลน์ วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 

วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 ที่กระทรวงศึกษาธิการ  มีการโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ และภาระผูกพันทั้งปวง ระหว่าง สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ( กศน.) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (สป.ศธ.) ให้ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ โดย นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) กล่าวผ่านระบบออนไลน์จากประเทศฝรั่งเศส ว่า ยินดีเป็นอย่างยิ่งกับพี่น้องชาว กศน. ในการยกระดับจาก “สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย” หรือ “กศน.” สู่การเป็น “กรมส่งเสริมการเรียนรู้” ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 มีหน้าที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ รูปแบบ คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ ซึ่งการส่งเสริมการเรียนรู้ ตาม พ.ร.บ.ฉบับนี้ มุ่งพัฒนาบุคคลให้มีทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตที่สอดคล้องและเท่าทันพัฒนาการของโลก มีโอกาสพัฒนาหรือเพิ่มพูนทักษะของตนให้สูงขึ้นหรือปรับเปลี่ยนทักษะของตนตามความถนัดหรือความจำเป็น ผ่านการมีส่วนร่วมของ เสาหลัก ได้แก่ รัฐ  เอกชน และท้องถิ่น

 

นางสาวตรีนุช กล่าวต่อว่า พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ฉบับนี้ ถือเป็นการปฏิรูปการศึกษาใหม่  ที่ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนคนไทยทุกช่วงวัย ตั้งแต่แรกเกิดจนเสียชีวิต โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาส จะสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ทุกรูปแบบ ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ซึ่งจุดเด่นของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยเดิม จัดตั้งเป็น “ศูนย์การเรียนรู้” ที่จะขยายตัวรองรับทุกพื้นที่ ตอบโจทย์ความต้องการของคนยุคใหม่ ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มทักษะชีวิต เพื่อให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ตามแนวคิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต ผ่านแหล่งเรียนรู้ต่าง ๆในรูปแบบที่หลากหลาย โดยมีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือจากหน่วยงานในระดับพื้นที่และระดับประเทศ ดังนั้น กรมส่งเสริมการเรียนรู้ จึงเป็นหน่วยงานที่ต้องมีการปรับตัวให้ตอบสนองความต้องการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง 

เมื่อกรมส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นกรมใหม่ล่าสุดของประเทศไทย ที่มีภารกิจสำคัญอย่างยิ่ง และมีความคาดหวังว่าจะเป็นกำลังสำคัญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาของประเทศไทย รูปแบบการทำงานจึงต้องเป็นแบบบูรณาการทั้งแนวระนาบเดียวกัน และแนวตั้ง ทั้งในกระทรวง และระหว่างกระทรวง ที่สำคัญ คือ ต้องทำงานร่วมกับภาคเอกชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการร่วมจัดและส่งเสริมการเรียนรู้ ซึ่งจะนำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง ดิฉันเชื่อว่า กรมส่งเสริมการเรียนรู้จะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษา ไปสู่การเรียนรู้ของคนไทยตลอดช่วงชีวิต เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้นให้กับประชาชนทุกคนได้”  นางสาวตรีนุช กล่าว 

ด้าน นายอรรถพล สังขวาสี ปลัดกระทรางศึกษาธิการ(ปลัด ศธ.) กล่าวว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งกับชาว กศน. กับการก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงในบ้านหลังใหม่ ซึ่งเป็นการยกระดับ จากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัยาศัย ( กศน.) ให้เป็น "กรมส่งเสริมการเรียนรู้" ซึ่งเมื่อปี พ.ศ. 2546 ได้มีการปฏิรูประบบราชการ และมีการยุบรวมกรมต่าง ๆ ของกระทรวงศึกษาธิการ จากเดิม 14 กรม เหลือเพียง สำนักงาน ทำให้ กรมการศึกษานอกโรงเรียนถูกยุบรวมเป็น "สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน" สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาเพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการทำงานมากขึ้น พร้อมทั้งสามารถรองรับความต้องการของกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายในทุกพื้นที่ จึงได้มีการประกาศใช้ "พระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พุทธศักราช 2551" เมื่อวันที่ มีนาคมพ.ศ. 2551 จึงทำให้สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน ถูกปรับเปลี่ยนเป็น "สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย" หรือ "สำนักงาน กศน." เป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดการศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย และการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศไทย จนกระทั่งวันที่ 18 มีนาคม พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินมหาวชิราลงกรณพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตราพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 โดยมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วัน นับแต่วันประกาศในราซกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป และให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 โดยยกระดับจากสำนักงาน กศน. เป็น "กรมส่งเสริมการเรียนรู้" มีหน้าที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ รูปแบบ 

ปลัดศธ. กล่าวว่า สำนักงานปลัด ศธ. ในฐานะหน่วยงานที่มีหน้าที่กำกับดูแลสำนักงานกศน. จึงขอส่งมอบและโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ และภาระผูกพันทั้งปวง รวมถึงข้าราชการ พนักงานราชการ ลูกจ้าง และอัตรากำลังของสำนักงานปลัดกระทรวง กระทรวงศึกษาธิการ เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับสำนักงาน กศน. ไปเป็นของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ "ตามมาตรา 28 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ.2566"

ผมเชื่อมั่นว่าการยกฐานะเป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้ ถือเป็นโอกาสดีในการสร้างโอกาสทางการเรียนรู้ให้แก่ประชาชนทุกเพศทุกวัย มีโอกาสเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้อย่างทั่วถึง เท่าเทียมและเป็นธรรมโดยไม่เลือกปฏิบัติ” ปลัด ศธ. กล่าว 

ขณะที่ นายคมกฤช จันทร์ขจร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กล่าวว่า การจัดการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ได้เริ่มมีอย่างเป็นทางการในปี พ.ศ. 2483 โดยรัฐบาลได้จัดตั้ง "กองการศึกษาผู้ใหญ่” สังกัด สป.ศธ. เพื่อรับผิดชอบงานการศึกษาผู้ใหญ่โดยตรง ก่อนจะเกิดการปรับเปลี่ยนอีกหลายครั้ง เป็น “กรมการศึกษานอกโรงเรียน” ต่อมาเป็น “สำนักงานบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน” จนล่าสุดเป็น “สำนักงาน กศน.” ตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 และเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2566 ได้มีการเผยแพร่ พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้ยกเลิก พ.ร.บ.ส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ. 2551 โดยยกระดับจาก สำนักงาน กศน. เป็น กรมส่งเสริมการเรียนรู้ 

การโอนบรรดากิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ และภาระผูกพันต่างๆ ให้กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ ในวันนี้ เป็นการเปลี่ยนสถานะสู่ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ อย่างเต็มตัว ตามมาตรา 28 ที่จะช่วยให้ขับเคลื่อนภารกิจต่อไปได้ และในขณะที่ประชาชนกำลังให้ความสนใจกับการเปลี่ยนแปลงของ สำนักงาน กศน. ไปสู่กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ว่าเมื่อเปลี่ยนแปลงแล้วประชาชนจะได้อะไรบ้าง ซึ่งกรมส่งเสริมการเรียนรู้ และบุคลากรของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ทุกคน ขอยืนยันว่าจะมุ่งดำเนินงานให้เป็นรูปธรรม เต็มสรรพกำลังความสามารถ ผลักดันให้กรมส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นหน่วยงานที่มีส่วนช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษา และนำไปสู่การเรียนรู้ของคนไทยตลอดช่วงชีวิต เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกช่วงวัย และยกระดับสังคมในภาพรวมของประเทศต่อไป ” นายคมกฤช กล่าว 

ที่มา แนวหน้า วันพฤหัสบดี ที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 

เกี่ยวข้องกัน

โอนกิจการสำนักงาน กศน.เป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้

เมื่อวันที่ 18 พ.ค. น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานในพิธีโอนกิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ และภาระผูกพันทั้งปวง ระหว่าง สำนักงาน กศน. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ให้กรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ (กศน.) ผ่านระบบออนไลน์ พร้อมกล่าวตอนหนึ่ง ว่า เมื่อวันที่ 19 มี.ค.2566 ที่ผ่านมา ได้มีการเผยแพร่พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ.2566 ซึ่งมีผลใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 60 วันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้ยกเลิกพระราชบัญญัติส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย พ.ศ.2551 โดยยกระดับจากสำนักงาน กศน. เป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้ มีหน้าที่จัดส่งเสริมและสนับสนุนการเรียนรู้ 3 รูปแบบ คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ 

รมว.ศึกษาธิการ กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ยังกล่าวถึงวัตถุประสงค์ของส่งเสริมการเรียนรู้ตามพระราชบัญญัติ คือ

1. พัฒนาบุคคลให้มีความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา เป็นคนดี มีวินัย

2.ภูมิใจและตระหนักในความสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

3.รู้จักความพอเพียง มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี

4.ใฝ่เรียนรู้ มีความรอบรู้ รอบคอบ มีคุณธรรม และมีความซื่อสัตย์สุจริต

5.มีสำนึกในความรับผิดชอบ มีความเป็นพลเมืองที่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในได้อย่างผาสุก

6. เพื่อให้บุคคลได้มีทักษะการเรียนรู้ ทักษะอาชีพ และทักษะชีวิตที่สอดคล้องและเท่าทันพัฒนาการของโลก และมีโอกาสพัฒนาหรือเพิ่มพูนทักษะของตนให้สูงขึ้นหรือปรับเปลี่ยนทักษะของตนตามความถนัดหรือความจำเป็น 

พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 ฉบับนี้ ถือเป็นการปฏิรูปการศึกษารอบใหม่ ผ่าน เสาหลัก ได้แก่ รัฐ เอกชน และท้องถิ่นที่จะร่วมกันให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเรียนรู้ของประชาชนคนไทยทุกช่วงวัย ตั้งแต่แรกเกิดจนเสียชีวิต นอกจากนี้ การเรียนรู้ของประชาชนคนไทย ทุกช่วงวัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาส จะสามารถเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ทุกรูปแบบ ทุกที่ ทุกเวลา ผ่านการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน ภายใต้ปรัชญา No One Left Behind หรือไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง จุดเด่นของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ คือ การเชื่อมโยงเครือข่ายการศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยเดิม จัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ ที่จะขยายตัวรองรับทุกพื้นที่ ตอบโจทย์ความต้องการของคนยุคใหม่ ตั้งแต่ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับอาชีวศึกษา และระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเพิ่มทักษะชีวิต กรมส่งเสริมการเรียนรู้ จึงเป็นหน่วยงานที่ต้องมีการปรับตัวให้ตอบสนองความต้องการทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ถือเป็นกรมใหม่ล่าสุดของประเทศไทยที่มีภารกิจสำคัญอย่างยิ่ง และมีความคาดหวังว่าจะเป็นกำลังสำคัญที่จะสร้างการเปลี่ยนแปลงในการจัดการศึกษาของประเทศไทย ส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้ อย่างแท้จริง” น.ส.ตรีนุช กล่าว 

ด้าน นายคมกฤช จันทร์ขจร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงของ สำนักงาน กศน. ไปสู่กรมส่งเสริมการเรียนรู้ คงปฏิเสธไม่ได้กับความคาดหวังของสังคมว่า เมื่อเปลี่ยนแปลงแล้วประชาชน จะได้อะไรบ้าง ซึ่งกรมส่งเสริมการเรียนรู้ และบุคลากรของกรมส่งเสริมการเรียนรู้ทุกคน ขอยืนยันว่าจะมุ่งมั่นดำเนินงานให้เป็นรูปธรรม เต็มสรรพกำลังความสามารถ ผลักดันให้กรมส่งเสริมการเรียนรู้ เป็นหน่วยงานที่มีส่วนช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษา และนำไปสู่การเรียนรู้ของคนไทยตลอดช่วงชีวิต เพื่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในทุกช่วงวัย ลดคสามเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา สร้างอาชีพ เพิ่มรายได้ เพื่อยกระดับสังคมในภาพรวมของประเทศต่อไป 

"ตรีนุช" มอบโอนกิจการ อำนาจหน้าที่ ทรัพย์สิน งบประมาณ สิทธิ หนี้ และภาระผูกพันทั้งปวง ระหว่าง สำนักงาน กศน. สำ ให้กรมส่งเสริมการเรียนรู้ โอนกิจการสำนักงาน กศน.เป็นกรมส่งเสริมการเรียนรู้ 

ที่มา เดลินิวส์ 18 พฤษภาคม 2566

เกี่ยวข้องกัน

ประเด็นการเบิกจ่ายเงินกลุ่มการคลังและสินทรัพย์

ณ วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 สำนักงาน กศน. ได้เปลี่ยนเป็น กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566 แต่ในด้านของการเบิกจ่ายเงินที่กรมบัญชีกลาง จะต้องดำเนินการเพื่อขอเป็นหน่วยงานใหม่ในระบบโดยจะต้องรอ

1. ประกาศจัดตั้งสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัด ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

2. ประกาศจัดตั้งสถานศึกษาขึ้นตรง ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

3. ประกาศอำนาจ หน้าที่ สถานศึกษา ลงนามโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

4. โครงสร้างการแบ่งส่วนราชการใช้ไปพลางก่อน ลงนามโดยอธิบดีกรมส่งเสริมการเรียนรู้ 

ทั้งนี้ ระหว่างรอการดำเนินการด้านการเป็นหน่วยเบิกจ่ายที่อนุมัติโดยกรมบัญชีกลาง กรมส่งเสริม การเรียนรู้ สามารถดำเนินการเบิกจ่ายได้ตามปกติในหน่วยเบิกจ่ายเดิม ทั้งนี้ กลุ่มการคลังและสินทรัพย์ได้ประสานงานกับกรมบัญชีกลางในเบื้องต้นเรียบร้อยแล้ว โดยจะต้องกำหนดวัน cutoff (การหยุดเบิกจ่ายจากหน่วยงานเดิม เพื่อเตรียมการเบิกจ่ายในหน่วยงานใหม่) ซึ่งทางกลุ่มการคลังและสินทรัพย์จะแจ้งเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้งหนึ่ง ในระหว่างนี้ หน่วยเบิกจ่ายทั้งหมดในสังกัดสำนักงาน กศน.จะต้องดำเนินการ ดังต่อไปนี้

          1. ตั้งแต่วันที่ 18 พฤษภาคม 2566 หน่วยงานจะต้องเริ่มใบเสร็จรับเงินเล่มใหม่ โดยขีดคำว่า

"สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ" ออก

แล้วประทับตราคำว่า "กรมส่งเสริมการเรียนรู้" แทน ทั้งนี้อาศัยตามมาตรา 27 และ 28 แห่งพระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566

          2. เมื่อมีคำสั่งแต่งตั้ง "ผู้อำนวยการ.........." ให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานผู้เบิกทุกแห่ง ไปดำเนินการขอเลขประจำตัวผู้เสียภาษีจากสรรพากรท้องที่นั้น ๆ

          3. ให้ดำเนินการเบิกจ่ายให้มากที่สุด (กรณีที่เรื่องนั้น ๆ ครบกำหนดการจ่ายเงิน) ในกรณีที่มี การเบิกจ่ายผ่านส่วนราชการให้รีบดำเนินการจ่ายเงินให้แก่ผู้มีสิทธิให้เร็วที่สุด โดยจ่ายผ่านระบบ KTB Corporate Online พร้อมทั้งดำเนินการจัดทำ ขจ..ให้เรียบร้อย

4. หน่วยงานผู้เบิกใดงบทดลองไม่เป็นปัจจุบันหรือยังไม่ถูกต้องหรือบันทึกบัญชีไม่ครบถ้วน ให้รีบดำเนินการปรับปรุงบัญชีให้เป็นปัจจุบัน ถูกต้อง ครบถ้วน ก่อนที่จะกำหนดวัน cutoff

5. วงเงินทดรองราชการที่หน่วยงานมีอยู่ จะต้องดำเนินการส่งคืน โดยกลุ่มการคลังและสินทรัพย์จะแจ้งอีกครั้งว่าให้ดำเนินการส่งคืนเมื่อไหร่ ดังนั้น ขอให้หน่วยงานจ่ายเงินทดรองราชการเท่าที่จำเป็นเท่านั้น

อนี่ง วงเงินทดรองราชการ จะต้องดำเนินการขอใหม่ในนาม "กรมส่งเสริมการเรียนรู้" ซึ่งขึ้นอยู่กับกรมบัญชีกลางว่าจะอนุมัติหรือไม่

          6. เมื่อมีการกำหนดวัน cutoff ขอให้หน่วยงานผู้เบิกหยุดดำเนินการเบิกจ่ายทุกกรณีไม่มีข้อยกเว้น เพื่อให้เงินงบประมาณคงเหลือมียอดที่ถูกต้องและสามารถตรวจสอบ และเรียกรายงานในระบบได้ 

ทั้งนี้ การอนุมัติเบิกจ่ายและการอนุมัติทุกอย่างในระบบ New GEMIS Thai และ ในระบบ KTB Corporate Online จะต้องดำเนินการใหม่ทั้งหมด ซึ่งจะแจ้งวิธีการปรับเปลี่ยนให้ทราบเป็นลายลักษณ์อักษรอีกครั้งหนึ่ง 

ข้อมูล ณ วันที่ พฤษภาคม 2566

ข้อปฏิบัติการเบิกจ่ายเงิน โดย กลุ่มงานบัญชี กลุ่มการคลังและสินทรัพย์ โทร. 0 2280 2928 

ที่มา ประชาสัมพันธ์ กศน. 

เกี่ยวข้องกัน

หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การอุดหนุนเป็นค่าอาหารกลางวันของนักเรียน พ.ศ. 2566

ราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 เผยแพร่ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การอุดหนุนเป็นค่าอาหารกลางวันของนักเรียน พ.ศ. 2566 มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ มกราคม 2566 เป็นต้นไป และให้ยกเลิกประกาศฯ ฉบับเดิม ซึ่งใช้มาตั้งแต่ปี 2552 เพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรี (พฤศจิกายน 2565) ที่ได้อนุมัติให้ปรับเพิ่มค่าอาหารกลางวันให้แก่นักเรียนระดับชั้นเด็กเล็ก ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ในอัตราตามขนาดของโรงเรียน เพื่อให้นักเรียนได้รับอาหารกลางวันและสารอาหารที่ครบถ้วน เพียงพอต่อความต้องการ 

โดยโรงเรียนที่มีสิทธิขอรับเงินอุดหนุนเป็นค่าอาหารกลางวัน ต้องเป็นโรงเรียนในระบบที่มีคุณสมบัติ และไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

·      เป็นโรงเรียนการกุศล หรือเป็นโรงเรียนสามัญศึกษาทั่วไปที่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคล

·      ไม่เป็นโรงเรียนการศึกษาพิเศษที่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลในอัตรานักเรียนพิการ ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล พ.ศ. 2558 

นักเรียนที่มีสิทธิได้รับเงินอุดหนุนเป็นค่าอาหารกลางวัน ต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังต่อไปนี้

·      เป็นนักเรียนที่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลในระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับประถมศึกษาในโรงเรียนข้างต้น

·      เป็นนักเรียนที่ลงทะเบียนและเรียนอยู่จริงโดยถูกต้องตามที่ระบุไว้ในใบอนุญาต หรือตราสารจัดตั้ง

·      เป็นนักเรียนในโรงเรียนสามัญศึกษาทั่วไปที่มีปัญหาทุพโภชนาการหรือขาดแคลนอาหารกลางวัน

·      ไม่เป็นนักเรียนพิการที่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคลในอัตรานักเรียนพิการตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการกำหนดมาตรการช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนเอกชนเป็นเงินอุดหนุนรายบุคคล พ.ศ. 2558 

·      อัตราเงินอุดหนุนเป็นค่าอาหารกลางวัน ให้กำหนดตามขนาดของโรงเรียน ตามจำนวนนักเรียนระดับก่อนประถมศึกษาถึงระดับประถมศึกษาที่ได้รับเงินอุดหนุนรายบุคคล ณ วันที่ 10 มิถุนายน ของปีที่ขอเบิก ดังต่อไปนี้

·      โรงเรียนที่มีนักเรียนไม่เกิน 40 คน ให้ได้รับอัตราอุดหนุน 36 บาท ต่อนักเรียน คนต่อวัน

·      โรงเรียนที่มีนักเรียนไม่เกิน 100 คน ให้ได้รับอัตราอุดหนุน 27 บาท ต่อนักเรียน คนต่อวัน

·      โรงเรียนที่มีนักเรียนไม่เกิน 120 คน ให้ได้รับอัตราอุดหนุน 24 บาท ต่อนักเรียน คนต่อวัน

·      โรงเรียนที่มีนักเรียนตั้งแต่ 121 คนขึ้นไป ให้ได้รับอัตราอุดหนุน 22 บาทต่อนักเรียน คน ต่อวัน 

คลิก ราชกิจจานุเบกษา  

เกี่ยวข้องกัน

การกำหนดชื่อ ชื่อย่อ ตรา สัญลักษณ์  หน่วยงานใหม่ ดังนี้

(18 พฤษภาคม 2566) เฟซบุ๊ก “”ประชาสัมพันธ์ กศน. เผยแพร่ข่าว “ประกาศอย่างเป็นทางการ จากกรมส่งเสริมการเรียนรู้ กระทรวงศึกษาธิการ”

·      ตราสัญลักษณ์กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ขอความอนุเคราะห์กรมศิลปากร ดำเนินการออกแบบ

·      กรมส่งเสริมการเรียนรู้ มีอักษรย่อคือ สกร.

·      ชื่อภาษาอังกฤษ กรมส่งเสริมการเรียนรู้ คือ Department of Learning Encouragement อักษรย่อภาษาอังกฤษ DOLE

·      อักษรย่อของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัด/กรุงเทพมหานคร คือ สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัด (ชื่อจังหวัด) ย่อเป็น สกร.จังหวัด (ชื่อจังหวัด) หรือ สกร.จ. (ชื่อจังหวัด)

·      ชื่อภาษาอังกฤษของสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัด/กรุงเทพมหานคร (ชื่อจังหวัดภาษาอังกฤษ) คือ Provincial Office of Learning Encouragement

·      สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้กรุงเทพมหานคร ย่อเป็น สกร.กรุงเทพมหานคร หรือ สกร.กทม. (Bangkok Office of Learning Encouragement)

·      อักษรย่อและชื่อภาษาอังกฤษของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอ/เขต คือ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้อำเภอ ย่อเป็น ศสกร.อำเภอ (ชื่ออำเภอ) หรือ ศสกร.ข. (ชื่อเขต) (ชื่ออำเภอ/เขตภาษาอังกฤษ) คือ District Learning Encouragement Center

·      สีประจำกรมส่งเสริมการเรียนรู้ คือ สีเหลือง และสีม่วง

·      การแต่งกายให้สวมชุดสูท หรือซาฟารี ใช้ผ้าสีกรมท่า สำหรับชุดปฏิบัติการในพื้นที่ ขอให้สวมเสื้อสีเหลืองประดับตราสัญลักษณ์กรมส่งเสริมการเรียนรู้

·      วันสถาปนา 18 มีนาคม พ.ศ. 2566 

         พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ. 2566  

 

ที่มา ประชาสัมพันธ์ กศน.

 

 

เล่ม พระราชบัญญัติส่งเสริมการเรียนรู้.

เกี่ยวข้องกัน

แจงหน้าที่สกร.จังหวัดเป็น “หน่วยงานธุรการ” – จัดทำแผนส่งเสริมการเรียนรู้ 

 

นายวรวิทย์ สุระโคตร ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกฎหมายและวินัย กรมส่งเสริมการเรียนรู้(สกร.) กล่าวบรรยายตอนหนึ่งในการประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เพื่อรองรับนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ สำนักงาน สกร.จังหวัดมุกดาหาร ประจำปีงบประมาณ 2566 หัวข้อ “แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้”ว่า  หลังจากพ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ พ.ศ.2566 มีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 18 พ.ค. 2566 ส่งผลให้มีการยกระดับสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย(กศน.) เป็น กรมส่งเสริมการเรียนรู้ หรือ สกร. มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีหน้าที่จัด ส่งเสริม และสนับสนุนการเรียนรู้ 3 รูปแบบ คือ การเรียนรู้ตลอดชีวิต การเรียนรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง และการเรียนรู้เพื่อคุณวุฒิตามระดับ 

นายวรวิทย์ กล่าวต่อไปว่า พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ มาตรา 19 ให้มีสำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดทุกจังหวัด ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัด เพื่อกำกับ ดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริมสนับสนุน อำนวยความสะดวก และแนะนำการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ในศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ ระดับอำเภอ ศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล และศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ ทั้งในด้านวิชาการ เทคโนโลยี ที่จำเป็นในการส่งเสริมการเรียนรู้ การบริหารงาน และการปฏิบัติงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตลอดทั้งการจัดทำแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ของจังหวัด ซึ่งต้องสอดคล้องกับแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ของสกร. บริบทของท้องถิ่น และแผนการศึกษาแห่งชาติ ทั้งปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่อธิบดีมอบหมายในการปฏิบัติหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้สำนักงานส่งเสริมการเรียนรู้ประจำจังหวัดมีหน้าที่และอำนาจในการประสาน สนับสนุน และร่วมมือ หรือมอบหมายให้ภาคีเครือข่ายเข้ามามีส่วนร่วมหรือ เป็นผู้ดำเนินการส่งเสริมการเรียนรู้ได้ ในการจัดทำแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ของจังหวัดตามวรรคหนึ่งต้องรับฟังความคิดเห็น หรือข้อเสนอแนะของภาคีเครือข่าย และเมื่อจัดทำร่างแผนการส่งเสริมการเรียนรู้แล้วเสร็จ ให้เสนอคณะกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบและใช้บังคับต่อไป ซึ่งเป็นที่น่าใจหายที่สำนักงาน สกร.จังหวัด หรือ กศน.จังหวัดเดิม กลับเป็นเพียงหน่วยงานธุรการ ทั้งที่มีอำนาจหน้าที่ กำกับ ติดตาม กศน.อำเภอ กศน.ตำบล ทำให้นโยบายสู่การปฏิบัติขาดความต่อเนื่อง 

นายวรวิทย์ กล่าวอีกว่า ขณะที่มาตรา 20  ระบุว่าในการปฏิบัติหน้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้ในระดับอำเภอ ให้มีศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอมีสถานะเป็นสถานศึกษา เพื่อจัดการเรียนรู้ และกำกับ ดูแล ช่วยเหลือ ส่งเสริมสนับสนุน  อำนวยความสะดวก และแนะนำ ในการปฏิบัติหน้าที่ของศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบลและศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่ ทั้งในด้านวิชาการ และเทคโนโลยีที่จำเป็น ในการส่งเสริมการเรียนรู้ให้เป็นไปตามแผนการส่งเสริมการเรียนรู้ของจังหวัด รวมทั้งประสานความร่วมมือและแนะนำการจัดการเรียนรู้ของภาคีเครือข่ายในพื้นที่และทำหน้าที่เป็นศูนย์การเรียนรู้ของตำบล เป็นที่ตั้งของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอหรือตำบลใกล้เคียงตามที่อธิบดีกำหนด และปฏิบัติหน้าที่อื่นตามที่อธิบดีมอบหมาย ในกรณีจำเป็นเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ ศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอ จะจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ขึ้นที่ใดที่เห็นสมควรหรือตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการส่งเสริมการเรียนรู้จังหวัดก็ได้ โดยให้นำความในมาตรา 19 วรรคสอง มาใช้บังคับแก่การปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ของศูนย์ส่งเสริมการเรียนรู้ระดับอำเภอด้วยโดยอนุโลม ซึ่งนั่นก็หมายความว่า พ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้ ให้สกร.อำเภอเป็นสถานศึกษา และมาตรา 21 บอกว่า เพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการเรียนรู้ อาจจัดให้มีศูนย์การเรียนรู้ระดับตำบล สำหรับพื้นที่ของตำบลหนึ่งหรือหลายตำบลตามความจำเป็นและเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ก็ได้ ในกรณีที่เป็นพื้นที่ห่างไกล ทุรกันดาร พื้นที่เสี่ยงภัย หรือพื้นที่ที่มีความยากลำบากในการปฏิบัติงาน จะประกาศจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ในพื้นที่นั้นก็ได้ หมายความว่าให้สกร.ตำบล เป็นหน่วยขับเคลื่อนงานสกร.เป็นหลัก ซึ่งศูนย์การเรียนรู้ต่างๆ จะเป็นห้องเรียนอยู่ในสกร.ตำบล โดยตำบลหนึ่งมีศูนย์การเรียนรู้มากกว่าหนึ่งแห่งก็ได้ อยู่ที่บริบทของพื้นที่ 

 

ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านกฎหมายและวินัย กรมส่งเสริมการเรียนรู้(สกร.) บรรยายในการประชุมเชิงปฏิบัติการการพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน เพื่อรองรับนโยบายส่งเสริมการเรียนรู้ สำนักงาน สกร.จังหวัดมุกดาหาร ประจำปีงบประมาณ 2566 หัวข้อ “แนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามพ.ร.บ.ส่งเสริมการเรียนรู้” 

 

ที่มา ; เดลินิวส์ 11 กันยายน 2566

 

ความเห็นของผู้ชม

 ยกเลิกพนักงานราชการตรวจสอบภายในเป็นตำแหน่งอื่นเถิดค่ะ หรือควรจะมีตำแหน่งข้าราชการเป็นเจ้าหน้าที่ตรวจสอบในจังหวัด
 4/24/2023 12:02:05 AM |  Hina
 แสดงความคิดเห็น