สิทธิของพนักงานเมื่อถูกเลิกจ้าง เช็กสิทธิต่างๆ ที่ต้องได้รับ ทั้งจากบริษัทตามกฏหมายแรงงาน สิทธิประกันสังคม รวมไปถึงเงินตนเองที่สะสมอยู่ในกองทุนต่างๆ ประกัน และสินทรัพย์อื่นๆ หากผิดเงื่อนไขผลกระทบที่จะได้รับ และทางเลือก
"ฐานเศรษฐกิจ" รวบรวมสิทธิทั้งหมดของพนักงาน มนุษย์เงินเดือน ข้อควรรู้ กรณีที่"ถูกเลิกจ้าง" รายละเอียดดังนี้
1. ค่าชดเชย ตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน
เมื่อบริษัทเลิกจ้างพนักงานที่ไม่ได้กระทำความผิดร้ายแรง บริษัทต้องจ่ายเงินก้อน เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างของพนักงาน 1 - 13.3 เดือนก่อนถูกเลิกจ้าง ขึ้นอยู่กับอายุงานที่ได้ทำงานมากับบริษัท หรือที่เรียกว่า “ค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน” ดังนี้
ค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้า
ค่าเสียหายนี้เกิดในกรณีหากนายจ้าง "ไล่ออก" ทันทีโดยไม่บอกล่วงหน้า ถือว่า นายจ้างทำผิดสัญญาจ้างแรงงาน นอกจากจะต้องจ่ายค่าชดเชยตามกรณีเลิกจ้างทั่วไป ตามข้อ 1 แล้ว (มาตรา 118) ยังต้องจ่ายค่าเสียหายจากการไม่บอกกล่าวล่วงหน้าด้วย ตามมาตรา 17/1 เป็นจำนวนเท่ากับค่าจ้างในอัตราที่ลูกจ้างได้รับอยู่อัตราสุดท้าย คิดเต็มจำนวนเสมือนหนึ่งว่านายจ้างได้บอกกล่าวล่วงหน้าให้เตรียมตัวก่อนออกจากงาน แต่ค่าเสียหายจำนวนนี้จะคิดอย่างมากที่สุด ไม่เกินค่าจ้างสามเดือน
กรณีเลิกจ้างแบบไหนที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
2. เงินทดแทนการว่างงาน จากประกันสังคม
พนักงานที่ส่งเงินสมทบประกันสังคมในฐานะพนักงานประจำ หรือผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาเป็นเวลา 6 เดือนขึ้นไป หากถูกเลิกจ้าง จะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการว่างงานหรือตกงานจากประกันสังคม (คำนวณจากฐานขั้นต่ำของเงินสมทบที่ 1,650 บาท และฐานสูงสุดของเงินสมทบที่ 15,000 บาท) ตัวอย่างดังนี้
3.สิทธิรักษาพยาบาล จากประกันสังคม
พนักงานแม้ถูกเลิกจ้างหรือลาออกและไม่ได้มีการส่งเงินสมทบประกันสังคมต่อ ก็ไม่ใช่ว่าจะหมดสิทธิรับสวัสดิการต่างๆ จากประกันสังคมเสมอไป อย่างเช่น สิทธิรักษาพยาบาลกับสถานพยาบาลที่แจ้งไว้กับประกันสังคม หากก่อนหน้านี้ได้มีการส่งเงินสมทบประกันสังคมมาแล้ว 3 เดือนขึ้นไป จะยังคงใช้สิทธิรักษาพยาบาลได้อีก 6 เดือน ถัดจากเดือนที่ถูกเลิกจ้าง หรือสิ้นสุดการเป็นผู้ประกันตนประกันสังคม แต่หากจำสถานพยาบาลไม่ได้ สามารถเช็กข้อมูลได้จากแอปพลิเคชัน SSO Connect หรือโทรสอบถาม 1506
ข้อควรรู้ กรณีที่ผิดเงื่อนไข
นายราชันย์ ตันติจินดา นักวางแผนการเงิน (CFP®) และที่ปรึกษาการเงิน ธนาคารกสิกรไทย ได้ให้คำแนะนำ สำหรับพนักงานที่มีเงินหรือลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) , กองทุน SSF ,กองทุน RMF หรือประกันชีวิต แต่มีเหตุให้ต้องออกจากงานว่า โดยปกติจะต้องสะสมเงินและถือไว้ให้ครบเงื่อนไข แต่หากจำเป็นต้องใช้เงินหรือต้องหยุดสะสมเงินเพื่อให้มีเงินเหลือเพียงพอกับการใช้จ่ายเฉพาะหน้า ก็อาจจำเป็นต้องเลือกที่จะยอมผิดเงื่อนไข แต่ควรเลือกผิดเงื่อนในทางเลือกที่ได้รับผลกระทบหรือบทลงโทษน้อยที่สุด ดังนั้นคนที่ถูกเลิกจ้าง จึงควรรู้ผลกระทบที่เกิดขึ้นหากผิดเงื่อนไขในแต่ละทางเลือก ดังนี้
หากนำเงินออก โดยอายุงานไม่ถึง 5 ปี >> เงินที่ได้รับต้องนำไปรวมกับรายได้อื่น เช่น เงินเดือน โบนัส ฯลฯ เพื่อคำนวณภาษี ดังนั้นหากก่อนถูกเลิกจ้างเป็นพนักงานที่มีฐานรายได้สูง ภาษีที่ต้องชำระก็จะสูงตาม
หากนำเงินออก โดยมีอายุงาน 5 ปีขึ้นไป และอายุตัวไม่ถึง 55 ปีบริบูรณ์ >> สามารถเลือกนำเงินที่ได้ไปกรอกภาษีสิ้นปีด้วย “ใบแนบ ภ.ง.ด. 91/90” พร้อมกับค่าชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน และเงินก้อนอื่นๆ ที่ได้รับครั้งเดียวเพราะเหตุออกจากงาน
หากนำเงินออก โดยมีอายุงาน 5 ปีขึ้นไป และอายุตัว 55 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป >> เงินก้อนที่ได้ จะได้รับการยกเว้นภาษี สำหรับคนที่ไม่ได้ร้อนเงิน ก็สามารถติดต่อฝ่ายบุคคลของบริษัท (หรือ บลจ. ที่ดูแลกองทุน) เพื่อ
หากมีการขายคืนหน่วยลงทุนที่ถือไว้ไม่ถึง 10 ปีเต็ม ต้องคืนเงินภาษี ในปีที่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนไป พร้อมเงินเพิ่ม 1.5%ต่อเดือน นับตั้งแต่ เม.ย. ถัดจากปีที่ใช้สิทธิจนถึงเดือนที่นำเงินภาษีไปคืน กำไรที่ได้จากการขายคืน ต้องนำไปรวมกับรายได้อื่นเพื่อคำนวณภาษีเงินได้
หากมีการขายคืนโดยลงทุนมาไม่ถึง 5 ปี (ไม่ว่าอายุตัวจะมากกว่าหรือน้อยกว่า 55 ปีบริบูรณ์ก็ตาม) ต้องคืนเงินภาษีทั้งหมดที่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนไป ภายในเดือน มี.ค. ถัดจากปีที่ขายคืน และกำไรที่ได้จากการขายคืน ต้องนำไปรวมกับรายได้อื่นเพื่อคำนวณภาษีเงินได้ หากมีการขายคืนก่อนอายุตัว 55 ปีบริบูรณ์ และลงทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปีเต็ม ต้องคืนเงินภาษีที่ได้ใช้สิทธิลดหย่อนไป ย้อนหลัง 5 ปี ภายในเดือน มี.ค. ถัดจากปีที่ขายคืน ส่วนกำไรที่ได้จากการขายคืนจะได้รับการยกเว้นภาษี
สามารถติดต่อบริษัทประกันชีวิต เพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังนี้
อ้างอิงข้อมูล :
· พระราชบัญญัติ คุ้มครองแรงงาน (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2562 มาตรา 118 และมาตรา 17/1
· สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
· ราชันย์ ตันติจินดา นักวางแผนการเงิน (CFP®) ที่ปรึกษาการเงิน ธนาคารกสิกรไทย
ที่มา ; ฐานเศรษฐกิจ