เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม นางอมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ที่มีพล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เป็นประธานว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง บุคคลผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุมเป็นการชั่วคราว พ.ศ.. ซึ่งร่างประกาศฉบับดังกล่าวหมายถึงในขณะนี้ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู แต่เป็นบุคคลที่หน่วยงานต้นสังกัดมีความประสงค์จะให้ไปปฎิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนจึงได้ปรับปรุงกฎหมายฉบับนี้ใหม่ เพื่อให้ครอบคลุมการปฎิบัติงานด้านใบประกอบวิชาชีพได้มากขึ้น
เลขาธิการคุรุสภา กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้หารือถึงการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการรับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยการว่าด้วยการรับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2567 เนื่องจากคุรุสภามีเกณฑ์การรับรองใบปริญญาตัวใหม่ ซึ่งคณะอนุกรรมกาฯรชุดเก่าใกล้จะหมดวาระในวันที่ 29 พ.ย.นี้ ดังนั้นจึงมีการสรรหาคณะอนุกรรมการฯชุดใหม่ขึ้น เพื่อให้ได้มาคณะอนุกรรมการฯที่มีความรู้ความสามารถและรับรองหลักสูตรของมหาวิทยาลัยที่ผลิตบัณฑิตครูอย่างมีคุณภาพ ซึ่งในประเด็นนี้พล.ต.อ.เพิ่มพูน ได้ย้ำให้กระบวนการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ามาเป็นคณะอนุกรรมการฯจะต้องมีความรู้ความสามารถและมีใจอยากจะมาทำงาน พร้อมกับให้ข้อเสนอแนะที่ดีแก่มหาวิทยาลัยได้ด้วย เพราะรมว.ศธ.อยากให้กระบวนการผลิตครูตั้งแต่เรียนจนจบการศึกษาได้ประกอบอาชีพครูมีมาตรฐาน โดยขณะนี้อยู่ในกระบวนการที่สภาคณบดีจะให้หน่วยงานต้นสังกัดที่เป็นองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการในการรับรองใบปริญญาให้กับมหาวิทยาลัยได้ส่งรายชื่อมาที่คุรุสภา ซึ่งที่ประชุมยังให้คณะอนุกรรมการฯชุดเก่าสามารถปฎิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนได้
“สำหรับการสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูล่าสุดนั้นที่มีผู้ผ่านการสอนได้น้อยมากจากผู้เข้าสอบ 40,000 ราย แต่ผ่านเกณฑ์เพียง 13% หรือจำนวน 7,000 กว่าคน ซึ่งหากพิจารณาตามกฎหมายที่คุรุสภาเขียนไว้ในเรื่องนี้จะต้องผ่านเกณฑ์การสอบให้ได้ร้อยละ 60 ดังนั้นข้อสอบจึงเป็นการสอบที่วัดสมรรถนะ ซึ่งหากมหาวิทยาลัยยังไม่ปรับเปลี่ยนการสอนเด็กที่มาสอบก็ไม่สามารถทำข้อสอบได้ แต่ขณะเดียวกันเด็กที่มีประสบการณ์และมหาวิทยาลัยได้ใส่เรื่องของสมรรถนะการสอน ส่วนเรื่องการขอดูคะแนนสอบคุรุสภาได้ประกาศให้เข้ามาดูคะแนนสอบของตัวเองได้ในวันที่ 13 พ.ย.นี้เป็นต้นไป โดยขณะนี้มีผู้แจ้งการขอดูคะแนนกว่า 1,000 คน ทั้งนี้ผู้ที่สอบไม่ผ่านนั้นในปี 68 จะประกาศอีกครั้งว่าจะให้จัดสอบใหม่ได้กี่รอบ เพราะทุกครั้งที่มีการจัดสอบใหม่คุรุสภาจะต้องมีการจัดทำข้อสอบใหม่ทุกครั้ง” นางอมลวรรณ กล่าว
ที่มา ; มติชนออนไลน์
เกี่ยวข้องกัน
บอร์ดคุรุสภา ถกสรรหากรรมการรับรองวิชาชีพครู ยันสอบขอตั๋วครูต้องมีมาตรฐาน
เมื่อวันที่ 31 ต.ค.ผศ.ดร.อมลวรรณ วีระธรรมโม เลขาธิการคุรุสภา เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการคุรุสภา ที่มีพล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศึกษาธิการ เป็นประธานว่า ที่ประชุมได้เห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการคุรุสภา เรื่อง บุคคลผู้ได้รับยกเว้นไม่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพควบคุมเป็นการชั่วคราว พ.ศ.. ซึ่งร่างประกาศฉบับดังกล่าวหมายถึงในขณะนี้ผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู แต่เป็นบุคคลที่หน่วยงานต้นสังกัดมีความประสงค์จะให้ไปปฎิบัติหน้าที่สอนในโรงเรียนจึงได้ปรับปรุงกฎหมายฉบับนี้ใหม่ เพื่อให้ครอบคลุมการปฎิบัติงานด้านใบประกอบวิชาชีพได้มากขึ้น
เลขาธิการคุรุสภา กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้หารือถึงการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการรับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ ตามข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยการว่าด้วยการรับรองความรู้และประสบการณ์ทางวิชาชีพ เพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ พ.ศ. 2567 เนื่องจากคุรุสภามีเกณฑ์การรับรองใบปริญญาตัวใหม่ ซึ่งคณะอนุกรรมกาฯรชุดเก่าใกล้จะหมดวาระในวันที่ 29 พ.ย.นี้ ดังนั้นจึงมีการสรรหาคณะอนุกรรมการฯชุดใหม่ขึ้น เพื่อให้ได้มาคณะอนุกรรมการฯที่มีความรู้ความสามารถและรับรองหลักสูตรของมหาวิทยาลัยที่ผลิตบัณฑิตครูอย่างมีคุณภาพ ซึ่งในประเด็นนี้พล.ต.อ.เพิ่มพูน ได้ย้ำให้กระบวนการคัดเลือกบุคคลที่จะเข้ามาเป็นคณะอนุกรรมการฯจะต้องมีความรู้ความสามารถและมีใจอยากจะมาทำงาน พร้อมกับให้ข้อเสนอแนะที่ดีแก่มหาวิทยาลัยได้ด้วย เพราะรมว.ศธ.อยากให้กระบวนการผลิตครูตั้งแต่เรียนจนจบการศึกษาได้ประกอบอาชีพครูมีมาตรฐาน โดยขณะนี้อยู่ในกระบวนการที่สภาคณบดีจะให้หน่วยงานต้นสังกัดที่เป็นองค์ประกอบของคณะอนุกรรมการในการรับรองใบปริญญาให้กับมหาวิทยาลัยได้ส่งรายชื่อมาที่คุรุสภา ซึ่งที่ประชุมยังให้คณะอนุกรรมการฯชุดเก่าสามารถปฎิบัติหน้าที่ไปพลางก่อนได้
“สำหรับการสอบขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครูล่าสุดนั้นที่มีผู้ผ่านการสอนได้น้อยมากจากผู้เข้าสอบ 40,000 ราย แต่ผ่านเกณฑ์เพียง 13% หรือจำนวน 7,000 กว่าคน ซึ่งหากพิจารณาตามกฎหมายที่คุรุสภาเขียนไว้ในเรื่องนี้จะต้องผ่านเกณฑ์การสอบให้ได้ร้อยละ 60 ดังนั้นข้อสอบจึงเป็นการสอบที่วัดสมรรถนะ ซึ่งหากมหาวิทยาลัยยังไม่ปรับเปลี่ยนการสอนเด็กที่มาสอบก็ไม่สามารถทำข้อสอบได้ แต่ขณะเดียวกันเด็กที่มีประสบการณ์และมหาวิทยาลัยได้ใส่เรื่องของสมรรถนะการสอน ส่วนเรื่องการขอดูคะแนนสอบคุรุสภาได้ประกาศให้เข้ามาดูคะแนนสอบของตัวเองได้ในวันที่ 13 พ.ย.นี้เป็นต้นไป โดยขณะนี้มีผู้แจ้งการขอดูคะแนนกว่า 1,000 คน ทั้งนี้ผู้ที่สอบไม่ผ่านนั้นในปี 68 จะประกาศอีกครั้งว่าจะให้จัดสอบใหม่ได้กี่รอบ เพราะทุกครั้งที่มีการจัดสอบใหม่คุรุสภาจะต้องมีการจัดทำข้อสอบใหม่ทุกครั้ง” ผศ.ดร.อมลวรรณ กล่าว
คุรุสภาไฟเขียวร่างประกาศยกเว้นใบอนุญาตครูชั่วคราว เตรียมสรรหาคณะอนุกรรมการชุดใหม่ ขับเคลื่อนมาตรฐานการผลิตครู
ที่มา ; มติชนออนไลน์