ค้นหา

การเมือง ความหวัง ความจริง การศึกษาไทย

บทความคอลัมน์ : ชั้น 5 ประชาชาติ เขียนโดย : ณัฐวุฒิ ประชาชาติ

วันก่อนได้ฟัง Vy Le Co-founder and General Partner เป็น Venture Capital ของเวียดนาม ให้สัมภาษณ์ในสกู๊ปของลงทุนแมน 

เธอบอกว่า จะพยายามทำในทุก ๆ วันให้คนลืมภาพ เวียดนามในอดีต ที่เป็นประเทศแห่งสงคราม เป็นแค่เพียง Textbook ประวัติศาสตร์ และทำภาพจำใหม่ ที่คนรู้จักว่าเป็น Tech hub of the world

อย่างที่รู้กันว่า เวียดนาม พยายามใช้ เกาหลีใต้โมเดล มาเป็นต้นแบบในการพัฒนาประเทศ 

วันนี้ เวียดนามมีรถยนต์อีวี สัญชาติเวียดนาม คือ Winfast 

มีบริษัทเทคขนาดใหญ่ ที่มีลูกค้าเป็นบิ๊กเทคระดับโลก อย่าง FPT Corporation 

หน่วยย่อยทางเศรษฐกิจอย่าง Startup ในเวียดนาม มีอีกมากมาย ที่ทำเรื่องระบบหลังบ้านด้านไอที ให้กับบริษัทในไทย โดย “รีโมต” ข้ามประเทศ 

Vy Le ฉายภาพเรื่องการที่รัฐบาลให้ความสำคัญด้านการศึกษา STEM ของเวียดนาม ซึ่งต่อยอดนำมาสู่การผลิตคนในอุตสาหกรรมใหม่ด้านดิจิทัล จนนำมาสู่ภาพที่เราเห็นในวันนี้ 

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ได้มีโอกาสอยู่ในวงสนทนา กับ “พริษฐ์ รักตพงศ์ไพศาล” ผู้บริหาร KIS International School Reignwood Park

“พริษฐ์” มี Passion ด้านการศึกษาเต็มเปี่ยม ด้วยความที่เขาลงแรงขับเคลื่อนการเปิดโรงเรียนแห่งใหม่ ที่เปิดไปเมื่อวันที่ 8 เดือน 8 ที่ผ่านมา เขาจึงต้องติดต่อหน่วยงานรัฐด้านการศึกษา เขาสะท้อนมุมมองด้านการศึกษาไทยอย่างน่าสนใจเช่นกัน 

“ประเทศไทยวันนี้ล้าหลัง ทุก ๆ ปีเราตก Rank ลงเรื่อย ๆ แค่ในอาเซียนเราก็แทบจะสู้กับประเทศอื่นไม่ได้แล้ว เอาแค่ความสามารถด้านภาษาอังกฤษ เรายังสู้กับเวียดนาม เมียนมา ไม่ได้เลย” 

“ดังนั้น ไม่ใช่เราเปลี่ยนวันนี้ แล้วปีหน้าคนไทยจะพูดภาษาอังกฤษเยอะขึ้น แต่ทั้งหมดต้องแก้ตั้งแต่ 20 ปีที่แล้ว เพราะเด็กที่คุณต้องการให้พูดภาษาอังกฤษได้ ปัจจุบันอยู่อนุบาล 1-3 ต้องเปลี่ยนระบบการศึกษาตั้งแต่วันนี้ เพื่อให้ในอีก 10 ปีข้างหน้าถึงจะเห็นผลให้เขาพูดภาษาอังกฤษ แต่ถ้าไม่เริ่มวันนี้ก็ไม่รู้จะเริ่มเมื่อไหร่ เริ่มเมื่อวาน เริ่มปีที่แล้วด้วยซ้ำ”

... อ่านข่าวต้นฉบับได้ที่ : https://www.prachachat.net/columns/news-1698637... อ่านข่าวต้นฉบับพริษฐ์บอกว่า ต้องทำให้อาชีพครูมีเกียรติ มีรายได้ที่ดี อย่างเช่น หมอ ทุกวันนี้พ่อแม่อยากให้ลูกเป็นหมอ เพราะรายได้ดี มั่นคง ดังนั้น เพื่อดึงดูดคนเก่ง ๆ ให้มาเป็นครู และต้องยกระดับทางสังคม รายได้ให้กับครูด้วย 

เพราะหากเทียบในต่างประเทศ ยุโรป เวลาถามนักเรียนว่าโตขึ้นอยากเป็นอะไร มักจะตอบว่าอยากเป็นครู แต่สำหรับประเทศไทย เคยถามคนที่เรียนครู ถามว่าทำไมถึงเรียนครู คำตอบที่ได้มาก็ ไม่รู้ว่าจะเรียนอะไร 

“อย่างแรก คือ ให้ความสำคัญกับบุคลากรทางการศึกษา ให้ความสำคัญกับครู ความแตกต่างอย่างหนึ่ง ครูโรงเรียนไทย สวมหมวกหลายใบ เป็นทั้งครู และ Admin Staff ทำงานเอกสาร แต่โรงเรียนนานาชาติเขาแบ่งแยกชัดเจน ครูมีหน้าที่สอน ส่วน Admin Staff มีหน้าที่ทางธุรการ งานเอกสาร ดังนั้น ครูหนึ่งคนจึงมีเวลาเตรียมการเรียนการสอน 100%” 

“ดังนั้น ครูไทย ต้องยกระดับเขาขึ้นมา ทำยังไงก็ได้ให้เขารู้สึกว่ามีปากมีเสียง มีเวลาคิดเพื่อเตรียมการสอนให้ดีที่สุด สอง คือการพัฒนาบุคลากร ผมเชื่อว่าครูหลายคนอยากพัฒนาตัวเอง แต่ปัญหาคือเขาไม่รู้ว่าเขาจะพัฒนาตัวเองยังไง เพื่ออะไร” 

ทำอย่างไรก็ได้ให้คนเก่ง ๆ อยากเป็นครู ดังนั้น เราต้องเพิ่มสวัสดิการเขา เราบอกว่าเด็กคืออนาคตของชาติ แต่เราไม่ลงทุนกับระบบการศึกษาเลย แม้จะมีงบประมาณเยอะที่สุด เยอะทุกปี แต่จัดสรรอย่างไรไม่รู้ ไม่ลงไปถึงข้างล่าง 

“ดังนั้น ถ้าต้องการให้เด็กเป็นอนาคตของชาติ ได้รับทรัพยากร โอกาสที่ดีที่สุด คุณก็ต้องมั่นใจว่าคนที่สอนเขา ใกล้ชิดกับเขามากที่สุด ทำอย่างไรให้คนที่อยู่กับเด็กทั้งวัน มีอาวุธ มี Tools ที่จะไปพัฒนาเด็กให้ดีที่สุด ทำให้เขามีแรงกาย แรงใจ ไปสอนเด็ก ทุกวันนี้แค่เอาเงินเดือนไปจ่ายเงินกู้ก็หมดแล้ว ไหนยังต้องจ่ายค่านู่น ค่านี่ เขาก็ไม่มีเวลาไปสอนเด็กแล้ว เด็กเลยไม่ได้อะไร” 

ย้อนกลับมาถึงคำกล่าวที่เรามักได้ยินว่า เดี๋ยวเวียดนามจะแซงไทย ไทยจะแพ้เวียดนาม 

หากผู้กุมทิศทางนโยบายการเมือง ข้างบนยังไม่รีบปรับปรุงปฏิรูปการศึกษาไทย ไม่ใช่แค่ “จะแพ้” เวียดนาม แต่ถ้ามองกันยาว ๆ คือ แพ้ไปแล้ว 

ที่มา ; ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 22 พฤศจิกายน 2567