ค้นหา

มาตรการเตรียมพร้อมเปิดภาคเรียน ปีการศึกษา 2565

 นายกรัฐมนตรี แนะ โรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครอง เตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียน 1/2565 รูปแบบการเรียน On-Site ย้ำมาตรการตัดความเสี่ยงสร้างภูมิคุ้มกันด้วย 3T1V ป้องกันโควิด-19 ด้วยมาตรการ 6-6-7 เข้ม พร้อมเตรียมแผนเผชิญเหตุในกรณีพบผู้ติดเชื้อ

นายกรัฐมนตรีแนะสถานศึกษา ครู นักเรียน ผู้ปกครอง เตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียน 1/2565 เน้นรูปแบบการเรียน On-Site โดยมอบหมายกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงศึกษาธิการ บูรณาการการทำงานปรับเปลี่ยนมาตรการการจัดการเรียนการสอนที่เหมาะสมกับสถานการณ์

เข้มงวดแนวทางเฝ้าระวังและเตรียมความพร้อม ด้วยมาตรการ 3T1V คือ

T : Thai Stop Covid Plus (TSC+)  สถานศึกษาต้องประเมินตนเองเตรียมพร้อมก่อนเปิดเรียน

T : Thai Save Thai (TST)  นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามีการประเมินความเสี่ยงตนเองเป็นประจำ

T : Test  ตรวจคัดกรอง เฝ้าระวังอย่างเหมาะสม เช่น ATK เมื่อมีความเสี่ยงหรือมีอาการ

V :Vaccine  ครู บุคลากร ผู้ปกครอง และเด็ก อายุ 5-18 ปี ได้รับวัคซีนโควิด 19 ตามเกณฑ์

 

พร้อมมาตรการ 6-6-7 คือ

สร้างความปลอดภัยด้วย 6 หลัก (DMHT-RC) ได้แก่ เว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก ล้างมือ ตรวจคัดกรอง ลดแออัด ทำความสะอาด

ร่วมกับ 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) ได้แก่ ดูแลตนเอง ใช้ช้อนส่วนตัว ทานอาหารปรุงสุกใหม่ ลงทะเบียนเข้า-ออก สำรวจตรวจสอบ กักกันตนเอง

7 มาตรการเข้ม ได้แก่

1) ประเมิน Thai Stop Covid Plus (TSC+) และรายงานผล ผ่าน MOECOVID

2) ทำกิจกรรมกลุ่มย่อย (Small Bubble)

3) จัดระบบการให้บริการอาหารตามหลักสุขาภิบาลและโภชนาการ

4) มีอนามัยสิ่งแวดล้อมตามเกณฑ์มาตรฐาน

5) มีแผนเผชิญเหตุ มีการซักซ้อม รวมถึง การเตรียมพร้อม School Isolation

6) ควบคุมดูแลการเดินทางจากบ้านไปโรงเรียนให้ปลอดภัยเน้นมาตรการปลอดภัยรถ โรงเรียน และ

7) School Pass สำหรับนักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษา

นายกรัฐมนตรี ยังแนะให้สถานศึกษาและครู จัดการเหลื่อมเวลาเด็กทั้ง การรับประทานอาหารกลางวัน และการเล่นร่วมกัน ไม่ให้เป็นการรวมตัวของเด็กจำนวนมากเกินไป พร้อมเตรียมแผนเผชิญเหตุในกรณีเจอผู้ติดเชื้อหรือเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงต้องมีมาตรการรองรับ โดยไม่ดำเนินการปิดชั้นเรียนหรือโรงเรียนโดยไม่จำเป็น 

ที่มา ;ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี

ข่าวเกี่ยวกัน

ศบค.ไม่บังคับ“เปิดเทอม” ทุกโรงเรียน ย้ำฉีดวัคซีนเด็กให้ได้มากที่สุด ไทยติดเชื้อ 9.7 พันราย เอทีเคเป็นบวก 8.7 ราย ดับ 54 ราย ศบค.ไม่บังคับต้องเปิดทุกโรงเรียน ย้ำฉีดวัคซีนเด็กให้ได้มากที่สุดรับเปิดเทอม 

เมื่อเวลา 12.30 น.วันที่ 5 พฤษภาคม 2565 ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.สุมนี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงและพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ กรมควบคุมโรค ในฐานะผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทย ว่า 

พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 9,790 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 9,772 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 9,719 ราย มาจากการค้นหาเชิงรุก 53 ราย มาจากเรือนจำ 14 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 4 ราย เป็นผู้มีผลตรวจเอทีเคเป็นบวก 8,728 ราย หายป่วยเพิ่มขึ้น 17,109 ราย อยู่ระหว่างรักษา 101,281 ราย อาการหนัก 1,638 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 776 ราย ทั้งนี้ เสียชีวิตเพิ่มขึ้น 54 ราย เป็นชาย 37 ราย หญิง 17 ราย เป็นผู้เสียชีวิตที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป 47 ราย มีโรคเรื้อรัง 6 ราย ไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 1 ราย มียอดผู้ติดเชื้อสะสมยืนยันตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 4,300,614 ราย มียอดหายป่วยสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 4,170,419 ราย ยอดผู้เสียชีวิตสะสมตั้งแต่ปี 2563 จำนวน 28,914 ราย ขณะที่สถานการณ์โลก มียอดผู้ติดเชื้อสะสม ราย เสียชีวิตสะสม ราย 

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ของประเทศไทยเป็นทิศทางที่ลดลงต่อเนื่องสอดคล้องกับไปสถานการณ์โลก โดยผู้ป่วยปอดอักเสบและใส่ท่อช่วยหายใจมีทิศทางลดลงต่อเนื่อง พญ.สุมนี กล่าวว่า สำหรับ 10 จังหวัดที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด ได้แก่ กทม. 2,990 ราย บุรีรัมย์ 321 ราย ชลบุรี 296 ราย สมุทรปราการ 274 ราย ร้อยเอ็ด 267 ราย สุรินทร์ 254 ราย ศรีสะเกษ 252 ราย ขอนแก่น 240 ราย อุบลราชธานี 200 ราย มหาสารคาม 195 ราย ขณะที่ 10 จังหวัดที่มีผู้ป่วยปอดอักเสบกำลังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล ประกอบด้วย กทม. 130 ราย นครราชสีมา 88 ราย กาญจนบุรี 66 ราย อุบลราชธานี 61 ราย สมุทรปราการ 57 ราย อุดรธานี 56 ราย ขอนแก่น 51 ราย พิษณุโลก 49 ราย สุพรรณบุรี 45 ราย และเชียงใหม่ 42 ราย สถานการณ์ถือว่าทรงตัวและน้อยลง มีเพียง 2 จังหวัดที่เพิ่มขึ้นคือ จ.อุดรธานีและขอนแก่น

สำหรับยอดการฉีดวัคซีนวันที่ 4 พ.ค. ฉีดเพิ่มได้ 144,809 ราย ทำให้มียอดฉีดวัคซีนสะสมตั้งแต่วันที่ 28 ก.พ.64 จำนวน 134,175,785 โดส และจากข้อมูลการฉีดวัคซีน ในส่วนของผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ขึ้นไป จำนวน 12,704,543 ราย ขณะนี้ฉีดวัคซีนเข็มที่สามไปแล้ว 5,303,655 โดส หรือคิดเป็น 41.7% ขณะที่เด็กอายุ 5-11 ปี จำนวน 5,150,082 ราย ฉีดวัคซีนเข็มสองไปแล้ว 732,349 โดส คิดเป็น 14.2% ในช่วงนี้ที่จะมีการเปิดภาคเรียน ศบค.ไม่ได้บังคับว่าต้องเปิดทุกโรงเรียน แต่อยากให้เปิดมากที่สุด และให้ทุกโรงเรียนเตรียมความพร้อมในการเปิดโรงเรียนให้ได้มาตรฐาน หากเด็กคนไหนมีอาการสงสัยให้ตรวจเอทีเค ถ้าพบเชื้อให้รักษาตัวที่บ้าน และไม่มีความจำเป็นต้องตรวจเอทีเคทุกสัปดาห์เหมือนก่อนหน้านี้ แต่ขอย้ำให้เข้ารับวัคซีนให้ได้มากที่สุด” พญ.สุมนี กล่าว
 

ที่มา ; หนังสือพิมพ์แนวหน้า วันพฤหัสบดี ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 

ข่าวเกี่ยวกัน

พร้อมจริงหรือ เปิดเทอม เรียน on-site 17 พ.ค.นี้ "เจอติดโควิด ไม่ปิดโรงเรียน” 

17 พ.ค.2565 วันเปิดเทอม ภาคการเรียนที่ 1/2565 ซึ่งจะเป็นการเรียนแบบ On-Site แล้วเด็ก บุคลากรและโรงเรียนมีความพร้อมแล้วที่จะเข้าสู่ “ยุคเรียนร่วมโควิด19”จริงหรือไม่ เมื่อรอบนี้ "เจอติดโควิด ไม่ปิดโรงเรียน” 

ร.ร.เตรียมพร้อมมาตรการ 6-6-7

น.ส.ตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวว่า ได้สั่งการเรื่องการเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 ในวันที่ 17 พ.ค.นี้ โดยได้กำชับให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศเร่งสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้ปกครองในการเปิดภาคเรียนใหม่อย่างปลอดภัย  ผ่านมาตรการ 6-6-7 ประสานการฉีดวัคซีนให้แก่นักเรียนอย่างครอบคลุม โดยเฉพาะ 5-11 ปี รวมถึงโรงเรียนจะต้องตรวจสอบสภาพอาคารเรียนให้มีความพร้อมไม่ว่าจะเป็นระบบไฟฟ้า ระบบประปา และห้องเรียน นอกจากนี้ ยังมีการเตรียมเนื้อหาจัดการเรียนการสอนจะต้องเติมเต็มเสริมศักยภาพของผู้เรียน พร้อมแต่งตั้งอาสาสมัครการศึกษา ทำหน้าที่คล้ายอาสาสมัครหมู่บ้าน หรือ อสม. ทำหน้าเอกซเรย์เด็กตามพื้นที่ต่างๆ เพื่อติดตามนำกลับเข้าระบบการศึกษา 

ร.ร.กว่า 90 % พร้อมเปิดเทอม
 นายสุภัทร จำปาทอง ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) กล่าวว่า  โรงเรียนทั่วประเทศมีกว่า  35,000 แห่ง เป็นร.ร.รัฐสังกัดสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.)ทั้งประถมศึกษาและมัธยมฯ 29,200 แห่ง   เอกชน 4,100 แห่ง และอื่นๆ เช่น อปท. มหาดไทย(มท.) อีกราว 1,800 แห่ง  โดยกว่า 90 % จะเปิดเทอมในวันที่  17 พ.ค.2565  โดยทุกสถานศึกษามีการเตรียมความพร้อม โดยสิ่งที่แตกต่างระหว่างภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2564 กับภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2565 คือ การเว้นระยะห่าง ในห้องเรียน จะเหลือ 1 เมตร จาก 1.5 เมตร
 

เพราะฉะนั้น ห้องเรียนปกติที่มีขนาด 8 X 8 เมตร สามารถจัดโต๊ะเรียนได้7 แถว ๆ ละ 6 ที่นั่ง รวม 42 คน ซึ่งโดยปกติ 1 ห้องเรียนจะมีนักเรีนนประมาณ 40 คน ไม่มีปัญหาในเรื่องการเว้นระยะห่าง แต่อาจจะมีปัญหาในโรงเรียนประถมศึกษาบางแห่งเท่านั้น ที่เป็นโรงเรียนขนาดใหญ่ บางห้องอาจจะมีขนาด 6 X 8 เมตร และสิ่งสุดท้ายที่มีความแตกต่าง คือ บางโรงเรียนเป็นการเรียนในห้องปรับอากาศ ต้องมีการเปิดระบายอากาศ ทุก 2 ชั่วโมง เป็นเวลา 10 นาที ในช่วงพัก สำหรับโอกาสติดเชื้อและแพร่เชื้อในโรงเรียน คือ การถอดหน้ากาก กินข้าวร่วมกัน สนทนาระหว่างกันโดยไม่สวมหน้ากาก ดังนั้น ในโรงอาหารควรมีการแยกสำรับกับข้าว แยกพื้นที่ งดการพูดคุย ขณะกินอาหาร และเมื่อมีการเล่นร่วมกัน ควรสวมหน้ากากตลอดเวลา 

ร.ร.กทม. เปิดเรียน On-Site 100%

นายชวินทร์ ศิรินาค รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ที่ประชุมได้แจ้งแนวทางการเตรียมความพร้อมการเปิดภาคเรียนที่ 1/2565 ของโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ในวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 ซึ่งเป็นการเปิดเรียนแบบ On-Site เต็มรูปแบบ 100% ทุกระดับชั้น โดยจะดำเนินการมาตรการความปลอดภัยของโรงเรียนในสังกัดฯ อย่างเต็มที่เข้มงวดและมีประสิทธิภาพ โดยทุกโรงเรียนจะต้องมีการประเมินตามมาตรการ 3T1V คือ

           T : Thai Stop Covid Plus (TSC+) สถานศึกษาต้องประเมินตนเองเตรียมพร้อมก่อนเปิดเรียน

           T : Thai Save Thai (TST) นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามีการประเมินความเสี่ยงตนเองเป็นประจำ

          T : Test ตรวจคัดกรอง เฝ้าระวังอย่างเหมาะสม เช่น ตรวจ ATK เมื่อมีความเสี่ยงหรือมีอาการ และ

          V : Vaccine ครู บุคลากร ผู้ปกครอง และเด็ก อายุ 5-18 ปี ได้รับวัคซีนโควิด-19 ตามเกณฑ์ พร้อมทั้งสำนักงานเขตและโรงเรียนจะมีการประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจ และขอความร่วมมือให้นักเรียน ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษากรุงเทพมหานคร ตลอดจนผู้ปฏิบัติงาน ในโรงเรียนให้ปฏิบัติตามข้อกำหนด 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) 6 มาตรการเสริม (SSET-CQ) และแนวทาง 7 มาตรการเข้ม ทั้งนี้หากผู้ปกครองไม่ประสงค์ให้นักเรียนเรียนในรูปแบบ On Site อนุญาตให้เรียนในรูปแบบ 4 ON ได้

สธ.ย้ำ 4 มาตรการก่อนเปิดเทอม

นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมช.สธ.) กล่าวในการเปินประธานเปิดการประชุมชี้แจงพร้อมแถลงข่าวมาตรการเปิดเรียน On-Site ปลอดภัย อยู่ได้กับโควิด-19 ในสถานศึกษาเตรียมความพร้อมเปิดภาคเรียนที่ 1/2565ว่า โดยเน้นย้ำ ตามมาตรการต่อไปนี้ คือ

          1. เร่งรัดการฉีดวัคซีนเพื่อให้นักเรียนได้รับวัคซีนตามความสมัครใจให้ครอบคลุม

          2. สถานศึกษา ต้องเข้ารับการประเมิน Thai Stop COVID Plus โดยต้องผ่านการประเมินมากกว่า 95 %  ส่วนการตรวจATK ที่เดิมให้ตรวจทุกราย แต่จากการหารือร่วมกับราชวิทยาลัยและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง  โดยการตรวจเฝ้าระวังให้ดำเนินการเฉพาะผู้ที่มีความเสี่ยงหรือมีอาการเท่านั้น  เพราะกรณีที่มีฉีดวัคซีนครบและไม่มีอาการ การตรวจATKอาจผิดพลาดได้ 

          3. เน้นย้ำการทำตามแผนเผชิญเหตุ เมื่อเจอผู้ติดเชื้อ หรือเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ไม่ดำเนินการปิดชั้นเรียนหรือโรงเรียน เป้าประสงค์นักเรียนควรได้รับการเรียนรู้อย่างเต็มที่ที่โรงเรียน

และ

          4. เน้นย้ำสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดให้ปฏิบัติตามมาตรการ โดยมอบหมายให้ศูนย์อนามัยในเขตสุขภาพเป็นพี่เลี้ยง 

เจอติดโควิด19 ไม่ปิดโรงเรียน

ด้านนพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย  อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า  มาตรการเปิดเรียน On-Site อยู่ได้กับโควิด19 

กรณีโรงเรียนประจำ เน้นมาตรการ Sandbox Safety zone in School  โดย

          1.หากนักเรียน รู หรือบุคลากรเป็นผู้ติดเชื้อ ให้หารือหน่วยบริการสาธารณสุขในการแยกกักตัวในโรงเรียนกรณีไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย ให้จัดการเรียนการสอนตามความเหมาะสม เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร งดร่วมกลุ่ม

          2.กรณีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงให้จัดควอรันทีนโซน จัดการเรียนการสอนในนั้นเป็นเวลา 5 วัน จากนั้นให้สังเกตอาการอีก 5 วัน อย่างไรก็ตามกรณีได้รับวัคซีนครบตามกำหนดและไม่มีอาการไม่แนะนำให้กักตัว และตรวจ ATK ในวันที่ 5 และ 10 และ3.กรณีเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ให้เปิดเรียนปกติ โดยป้องกันตนเองครอบจักรวาล ประเมิน Thai Save Thai (TST) เว้นระยะห่างในห้องอย่างน้อย 1 เมตร 

กรณีโรงเรียนไป-กลับ

          1. กรณีนักเรียน ครู หรือบุคลากร ติดเชื้อ ให้แยกกักตัวที่บ้าน หรือพิจารณากักตัวที่โรงเรียน โดยคณะกรรมการสถานศึกษาและหน่วยงานสาธารณสุข และคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด กรณีเป็นผู้ติดเชื้อมีอาการให้พิจารณาจัดรูปแบบการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีอาการ  และทำความสะอาดห้องเรียน ชั้นเรียน สถานศึกษา และเปิดเรียนตามปกติ 

          2. กรณีผู้สัมผัสเสี่ยงสูงหากยังไม่ได้รับวัดซีน ไม่มีอาการ แนะนำให้กักตัวเองเป็นเวลา 5 วันและติดตามหลังจากนั้นอีก 5 วัน กรณีได้รับวัคซีนครบและไม่มีอาการไม่ต้องกักตัว ให้เรียนได้โดยให้ตรวจ ATK วันที่ 1 , 5 และ 10 หลังสัมผัสผู้ติดเชื้อ สถานศึกษาจัดให้เรียนตามความเหมาะสม เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร

          3. กรณีผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ให้เรียนตามปกติ ป้องกันตนเองครอบจักรวาล ประเมิน TST เว้นระยะห่างในห้องอย่างน้อย 1 เมตร

เร่งฉีดวัคซีนโควิด19เด็กก่อนเปิดเทอม On-Site

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค(คร.) กล่าวว่า ข้อมูล ณ วันที่ 3 พ.ค. 2565 ผลการฉีดวัคซีนกลุ่มเป้าหมายอายุ 12-17 ปี จำนวนเป้าหมาย 4.7 ล้านคน จากฐานข้อมูล MOPH IC   

          -ฉีดเข็มที่ 1แล้ว 3.6 ล้านคน คิดเป็น 77.2 %

          -ฉีดเข็มที่ 2แล้ว 3.5 ล้านคน คิดเป็น 75.5 %

          -ฉีดเข็มที่ 3แล้ว 2.4 แสนคน คิดเป็น 5.2%  

แผนเร่งรัดการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นสำหรับกลุ่มเป้าหมายอายุ 12-17 ปี

1. การเข้ารับบริการ เลือกได้ตามความสมัครใจ

          - ผ่านระบบสถานพยาบาล บริการฉีดทั้งขนาดเต็มโดส และครึ่งโดส

          - ผ่านระบบสถานศึกษา บริการฉีดขนาดครึ่งโดส

2. การฉีดผ่านระบบสถานศึกษา ข้อมูลจากศึกษาธิการจังหวัดประสานไปที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ณ วันที่ 28 เมษายน 2565 มีนักเรียนอายุ 12 ปี ขึ้นไป ที่ประสงค์ต้องการรับวัคซีน Pfizer เข็มกระตุ้นขนาดครึ่งโดส จำนวน 1.75 ล้านคน คิดเป็น 50 % (โดยเปรียบเทียบกับผลการฉีดเข็ม 2 จากระบบ MOPH IC)

3. การจัดสรรวัคซีน กรมควบคุมโรคจะจัดส่งวัคซีน Pfizer ฝาม่วงสำหรับกลุ่มเป้าหมายดังกล่าว ภายในวันที่ 6 พฤษภาคม 2565 

ส่วนผลการฉีดวัคซีนกลุ่มเป้าหมายอายุ 5-11 ปี  จำนวนเป้าหมาย 5.1 ล้านคน ข้อมูลจากระบบ MOPH IC วันที่ 2 พ.ค.2565  ฉีดเข็มที่ 1 แล้ว 2.7 ล้านคน คิดเป็น 53.3 %  และเข็ม 2 แล้ว  6.7 แสนคน คิดเป็น 13.1 % 

แผนเร่งรัดการฉีดวัคซีนสำหรับกลุ่มเป้าหมายอายุ 5-11 ปี

1. อยู่ในระหว่างการเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 และ 2 สูตร Pfizer-Pfizer

2. กรมควบคุมโรคได้ทำการสำรวจข้อมูลในเต็กอายุ 5-11 ปี ที่ประสงค์รับวัคซีนเพิ่มเติม 

โดยมีข้อมูล ณ วันที่ 28 เม.ย. 2565 ดังนี้

1. วัคซีน Pfizer เข็ม 1 เก็บตก จำนวน 1.1 แสนคน

2. วัคซีน Pfizer สำหรับการฉีดเป็นเข็มที่ 2 สูตรไขว้ Sinovac-Pfizer จำนวน 1.6 แสนคน

3. กรมควบคุมโรคได้ทยอยจัดส่งวัคนให้กับทั้งกลุ่มเป้าหมายที่มีกำหนดนัดฉีดและที่แสดงความประสงค์เพิ่มเติมในทุกสัปดาห์ 

ที่มา ; กรุงเทพธุรกิจ 08 พ.ค. 2565 

ความเห็นของผู้ชม

 แสดงความคิดเห็น