Active Teacher to Active Learner
การจัดการเรียนรู้เชิงรุก Active Learning เริ่มต้นที่คุณครูต้องรุกขึ้น
1. นำตัวขี้วัดต้องรู้ในรายวิชาที่ตนสอนมาวิเคราะห์ระดับคุณภาพผู้เรียนให้ชัดเจนทั้ง K,P,A
2. นำตัวขี้วัดที่บ่งชี้พฤติกรรมความสามารถขั้นสูง (Higher Order Thinking) มาเป็นเป้าหมายออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นกระบวนการคิด การปฏิบัติพร้อมกำหนดหลักฐานชิ้นงานที่สะท้อนผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนและเกณฑ์ตัดสินคุณภาพด้วย Rubric ที่สอดคล้องกันอย่างเป็นระบบ
3. เมื่อกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ที่สะท้อนสมรรถนะตามตัวชี้วัดระดับสูงแล้ว จึงนำตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องมามัดรวมบูรณาการให้มั่นใจว่า นักเรียนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจ (K)ในเรื่องอะไร และควรเกิดทักษะวิชา ( Basic skills) หรือทักษะกระบวนการคิด (Cognitive ability) ระดับใด (หรือจะเชื่อมโยงทักษะสมอง EF และหรือทักษะกระบวนเรียนรู้ตามธรรมชาติกลุ่มสาระ) จึงจะสามารถลงมือปฏิบัติกิจกรรมและทำชิ้นงานที่ครูออกแบบให้สำเร็จได้คุณภาพRubric ระดับดีขึ้นไปทุกคน
การวัดผลประเมินผลตามหลักสูตรแกนกลางฯ 2551 จึงกำหนดไว้ 4 ระดับ คือ การประเมินผลระดับชั้นเรียน ระดับโรงเรียน ระดับเขตพื้นที่การศึกษา และระดับชาติ จะต้องสะท้อนคุณภาพนักเรียนสอดคล้องกัน คือ นักเรียนแต่ละคนต้องมีองค์ความรู้พื้นฐานครอบคลุมมาตรฐานตัวชี้วัดต้องรู้ มีสมรรถนะสำคัญ 5 ประการ และคุณลักษณะพึงประสงค์ 8 ประการตามเป้าหมายของหลักสูตรแกนกลางฯ ด้วยระบบประกันคุณภาพนักเรียนที่มีประสิทธิภาพและสมรรถนะการออกแบบการเรียนรู้ การทำงานมุ่งผลสัมฤทธิ์ของครูแต่ละท่านในห้องเรียนคุณภาพ (Back to School and Focus on Classroom)
Active Learning จึงต้องเริ่มต้นที่ขั้นเรียน ด้วยทักษะการจัดการเรียนรู้และการจัดการชั้นเรียนPowerful Pedagogiesของครู ตามที่จัดทำข้อตกลงพัฒนางาน PA1 (ด้านที่1 ) นักเรียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ต้องมีผลสัมฤทธิ์ ตามค่าเป้าหมายความสำเร็จที่โรงเรียนกำหนดกัน จึงสามารถรายงานได้ว่า “โรงเรียนและครูใช้ยุทธศาสตร์การจัดการเรียนรู้เขิงรุกActive Learning ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการประกันคุณภาพนักเรียนที่ยั่งยืน ตามหลักการสำคัญของระบบ Performance Apprisal
คลิปการจัดการเรียนรู้เชิงรุก (Active Learning)
https://www.youtube.com/live/uAmoVzjBKBg?feature=share